@ธรรมะ สวัสดีทุกท่าน@ @เชิญเขียนบทความเกี่ยวกับธรรมะได้ ครับ แล้วส่งมาที่charan_54@hotmail.co.th@ @บุญไม่ทำมัวแต่อ้วนวอน ระวังเทวดาจะย้อนว่า วอน วอน วอนเสียแล้ว@ @เดินอย่างมีความสุขที่ได้เดิน เราจะมีอนาคตอยู่ในปัจจุบัน@

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บรรพชาและอุปสมบท

บรรพชา

    เข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดแจ้งแสงอรุณ(พระอารามหลวง) ต.ธาตุเชิงชม อ.เมือง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙
อุปสมบท
    อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๓ ณ วัดแจ้งแสงอรุณ(พระอารามหลวง)  
พระอุปัชฌาย์ พระราชประสิทธิคุณ (ปัจจุบันคือพระเทพสิทธิโสภณ) 

พระกรรมวาจาจารย์ พระครูศรีปริยัตยาลังการ 

พระอนุสาวนาจารย์ พระครูกิตติธรรมนิวิฐ

ได้รับฉายา "ฐิตโสมนสฺโส" 

ผลงานทางด้านต่างๆ

ผลงาน










ผลงานทางด้านภาษาบาลี

ผลงานทางด้านภาษาบาลี








ผลงานทางด้านนักธรรม

ผลงาน








วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สนทนา

สนทนาธรรมะ

สมุดเยี่ยม

สมุดเยี่ยม

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผีร้าย 6 ตัว!!!


ผีที่หนึ่ง-"เสพสุราเป็นอาจินต์"    ไม่ชอบกินข้าวปลาเป็นอาหาร!!!

ผีที่สอง-"ชอบเที่ยวยามวิกาล"   ไม่รักบ้านรักลูก-รักเมียตน!!!

ผีที่สาม-"ชอบเที่ยวดูการละเล่น"    ไม่ละเว้นบาร์คลับละครโขน!!!

ผีที่สี่-"คบคนชั่ว"มั่วกับโจร!!!    หนีไม่พ้นอาญาตราแผ่นดิน!!!

ผีที่ห้า-"ชอบเล่นม้ากีฬาบัตร"    สารพัดถั่วโปไฮโลสิ้น!!!

ผีที่หก-"ชอบเกียจคร้านการทำกิน"    มีทั้งสิ้น"หกผี"อัปรีย์เอยฯ...

          จงระวังผีเหล่านี้ให้ดี  เมื่อถูกมันทักก็อย่าขวัญเสีย   อย่าไปตามใจมัน  มิฉะนั้นลงอบายแน่...

สติสัมปชัญญะ

สติสัมปชัญญะ
สติ คือธรรมชาติหนึ่ง ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต อาศัยอารมณ์เดียวกับจิต ที่เรียกว่าเจตสิก นั่นเอง แต่เป็นเจตสิกฝ่ายดีงาม (โสภณเจตสิก) ทำหน้าที่ระลึกในอารมณ์ มีลักษณะที่เป็นกุศลเพราะช่วยให้ระลึก ได้ในสิ่งที่ดีงาม
   คำถามที่ควรตั้งถาม - ในชีวิตประจำวันมีสติหรือไม่ ?
- สติจำเป็นสำหรับดำเนินชีวิตอย่างไร ?
- วิธีการฝึกทำให้สติเกิดนั้นทำอย่างไร?
   สติที่พึงปราถนา คือ สติที่มีลักษณะเป็นไปดังนี้ 
- เป็นกุญแจหลักดอกสำคัญที่ไขให้เรารู้จักจิต …นี่คือจุดเริ่มต้น
- เป็นเครื่องมืออันสมบูรณ์สำหรับฝึกฝนและขัดเกลาจิต……..นี่คือจุดศูนย์รวม
- เป็นปรากฏการณ์สูงค่าของการบรรลุถึงอิสระภาพของจิต….นี่คือจุดยอดสูงสุด
   จุดแห่งสัมมาสติ
อันดับแรกของความมีสติก็คือ "ความเอาใจใส่" เรียกว่า ความสนใจ ที่มีลักษณะ "หันเข้าหาอารมณ์เป็นครั้งแรก" (อาวัชชนะ) เพื่อตัดกระแสจิตใต้สำนึกจากภวังคจิตเข้าไปเอาใจใส่อารมณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ใน ขณะนั้นตามทวารการรับรู้ต่างๆ ในขณะแรก ๆ ของขบวนการรับรู้ ความเอาใจใส่ยังเป็นภาพรวม กว้าง ๆ ไม่ชัดเจน หากมีสิ่งที่กระตุ้นแรงมากพอ ความเอาใจใส่จะเพิ่มมากขึ้น มีรายละเอียดและมีความสัมพันธ์ เรียกว่าความคิดเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเรากับสิ่งนั้น(สติ + สัญญา + เจตนา)
การรับรู้ = รายละเอียด + พาดพิงถึงตัวผู้สังเกต + คิดเชื่อมโยง + คิดรวบยอด ทั้งหมดนี้ ยังอยู่ในระดับของสติที่นำไปใช้อย่างสามัญ
   สัมมาสติ นำไปสู่การสังวร 
เมื่อ ความเอาใจใส่ (การกำหนด) เจริญขึ้น (โดยการฝึกตนเองอย่างเข้มงวด) ความมีสติชอบได้พัฒนาขึ้น โดยการรู้จักระวังจิตให้พ้นจากอิทธิพลต่าง ๆ ที่ทำให้จิตหลงผิด อันเป็นรากฐานและเป็นองค์ประกอบของ ปัญญาอันเห็นชอบ คือ สัมมาทิฏฐิ นั่นเอง
   สัมมาสติ คือพัฒนาจิต ให้เกิดสติในทางที่ระลึกชอบ 
- สัมมาสติในองค์ที่เจ็ดของอริยมรรค คือ สติปัฏฐาน ที่ตั้งของสติ
- สัมมาสติ คือ สติที่มุ่งอยู่กับ
      - กาย คือ การเคลื่อนไหวและความเป็นไปของกายในลักษณะต่างๆ
      - เวทนา คือ ความรู้สึกทุกข์ - สุข- และไม่ทุกข์และไม่สุข ในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งกายและใจฃ
      - จิต คือ สภาพของจิตที่มีลักษณะอย่างไรในจิตขณะหนึ่ง ๆ
      - ธรรม คือ สิ่งที่มีและเกิดขึ้นในใจ อารมณ์จำเพาะของจิตในขณะนั้น ๆ
   อนุปัสสนา การเฝ้าตามดู (ตามดูตามรู้) 
คือ การตั้งสติคอยระลึกรู้ (กำหนด) ในฐานทั้งสี่ที่กล่าวมา (ตามดูสิ่งที่เกิดที่เกิดขึ้นในกาย-ใจ) ก่อให้เกิดตัวรู้ที่เป็นรากฐานของปัญญาขึ้น คือ สัมปญชัญญะ (ตามรู้สิ่งที่เกิดที่เกิดขึ้นในกาย-ใจ)
   สติและสัมปชัญญะ ในฐานะของการปฏิบัติ 
                                                                                                                                                                คือ การตั้งต้นของจิต ที่ประกอบไปด้วยการเอาใจใส่ในทุกสิ่งที่ดำเนินไปของกายและใจ สิ่งนี้เรียกว่า "การกำหนด" (Bare Attention) หรือการเอาใจใส่เฉย ๆ ที่มีความหมายว่าเพียงแต่เฝ้าดู โดยไม่เอาความคิดความเห็นความชอบของตนเข้าไปตัดสิน มีลักษณะดังนี้
- กำหนดรู้ชัดกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราและในเรา (บัญญัติ) ติดป้ายชื่อให้แก่ทุกสิ่ง (รู้โดยสัญญา)
- กำหนดรู้ชัดบันทึกข้อมูลใหม่ให้แก่จิต (ปรมัติ) ปลดป้ายชื่อ ขจัดสิ่งแปลกปลอมที่แฝงมา
- กำหนดรู้จากหยาบไปหาละเอียดขึ้น (อินทรีย์สังวร)
- กำหนดรู้จากอดีต กลับคืนสู่ปัจจุบันอารมณ์ (ตามทัน - เป็นมหาสติ)
- กำหนดรู้อย่างละเอียดละออตลอดทั่ว ย้อนดูจิตตั้งแต่แรกเริ่ม เห็นกระบวนการรับรู้ของจิต ตั้งแต่เริ่มต้น เป็นไป และจบลง โดยไม่ด่วนตัดสิน ไม่ด่วนสรุปว่ารู้แล้ว ปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ แสดงตัวของมันออกมาตามคุณลักษณะธรรมชาติของมันเอง
   ระดับของการกำหนด
ระยะที่หนึ่ง จิตเป็นฝ่ายรับ (เห็นผลชัด) ขั้นรู้จัก ทุกข์
ระยะที่สอง จิตรู้อารมณ์ที่บริสุทธิ์ (เห็นเหตุชัด) ขั้นขัดเกลาจิต รู้จักสมุทัย
ระยะที่สาม จิตบริสุทธิ์ (ผลใหม่ที่ปราศจากทุกข์) ขั้นปลดเปลื้องจิต รู้จัก นิโรธ
ระยะ ที่สี่ จิตรู้ทาง (รู้เหตุที่จะปฏิบัติให้พ้นทุกข์) ขั้นเจริญจิต รู้จัก มรรค เป็นระดับของจิตที่เรียนรู้อริยสัจจ์สี่ในการปฏิบัติ นั่นเอง

   สัมปญชัญญะ การรู้ชัด 
คือ ความรู้ที่ถูกต้อง ที่ได้มาจากสัมมาสติ เป็นกระบวนการ "หลั่งความรู้" ที่มีรากฐานมาจากการกำหนดที่ถูกต้อง ความรู้ชัดที่ถูกต้องนี้จะคอยควบคุมกิจกรรมทั้งปวงของชีวิตที่ดำเนินไป ตั้งแต่ คิด พูด ทำ ให้เป็นไปตาม จุดมุ่งหมาย มีประสิทธิภาพและเข้ากันได้กับความเป็นจริง ซึ่งอยู่ในความหมายของคำว่า รู้ตัวทั่วพร้อม ทั้งกายและใจ สัมปชัญญะคือความรู้ที่ถูกต้อง ที่เรียกอีกนัยหนึ่งว่า ปัญญา (ญาณ) ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของสัมมาสตินั่นเอง
   สัมปชัญญะสี่ ความรู้ชัดนี้ ผู้ปฏิบัติต้องสังเกตว่า เมื่อสติทำได้คมชัดแล้ว ความรู้จะเกิดขึ้นครอบคลุมการงานของกายใจทั้งหมด โดยมีลำดับดังนี้
๑. สาตถกสัมปชัญญะ ความรู้ชัดในวัตถุประสงค์ (รู้ชัดในเหตุ ก่อนทำกิจ)
๒. สัปปายสัมปชัญญะ ความรู้ชัดในความเหมาะสม (ของการกระทำ-อินทรีย์)
๓. โคจรสัมปชัญญะ ความรู้ชัดในแดนงาน (รู้อารมณ์กรรมฐาน)
๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ ความรู้ชัดตามความเป็นจริง (ของอารมณ์ ของกิจกรรมทั้งปวงอย่างไม่มีอคติ และความหลงผิด อันเป็นรากฐานของสัมมาทิฏฐิในองค์แรกของอริยมรรค)
   สรุปประเด็นของการฝึกสติและสัมปชัญญะ
. หันเข้าหาอารมณ์
. รู้อารมณ์ว่าเป็นไปอย่างไรตามปกติ
. รู้จักกระบวนการของการรับรู้
. รู้อารมณ์ที่บริสุทธิ์
. รู้อารมณ์ที่เป็นคุณและโทษของจิต
. รู้วิธีการออกจากโทษนั้น
. รู้ชัดตามความเป็นจริง

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กฎแห่งกรรม

           กรรม คือ การกระทำของตน  จะทำดีหรือไม่ดีได้ชื่อว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น  ถ้าทำดีก็เรียกว่า กรรมดี  ถ้าทำชั่วก็เรียกว่า  กรรมชั่ว

         กฎแห่งกรรม  หมายถึงกฎหรือข้อบังคับของธรรมชาติที่ว่าด้วยผลของกรรมที่ผู้กระทำจะต้องได้รับ  ไม่มีใครหลีกพ้นผลของกรรมนั้นได้กฎที่ว่านั้นคือใครทำกรรมดีไว้ย่อมได้รับผลดี  ทำกรรมชั่วไว้ก็ย่อมได้รับผลชั่ว  เหมือนคนปลูกพืชเช่นใดไว้ก็ย่อมได้รับผลเป็นพืชเช่นนั้น  เช่นปลูกข้าวย่อมได้ผลเป็นข้าว  ปลูกมะพร้าวย่อมได้ผลเป็นมะพร้าว
         คำว่ากฎแห่งกรรมนี้ใช้ได้ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว  แต่ส่วนใหญ่มักใช้กับกรรมไม่ดี  เช่น นาย (ก)ฆ่าคนตาย  ตอนหลังถูกจำคุก  ก็พูดกันว่า
         
         "สมแล้วที่ต้องไปชดใช้กรรมในคุก  กฎแห่งกรรมให้ผลแล้ว"


(ที่มา:คำวัด พระธรรมกิตติวงศ์, หน้งสือที่ระลึกทำบุญอายุวัฒนมงคล ๘๐ ปี พระครูมนูญธรรมรัต)

เบอร์โทร

0871414355

อีเมล

๑. charan_54@hotmail.co.th

๒. jaranza_2532_2009@hotmail.com

๓. MCU_5339202013@hotmail.com

คำคมที่ชอบ

ผิด แ ล้ ว รู้ จั ก แ ก้ = ที่ แ ท้ คื อ บั ณ ฑิ ต

ผิ ด ห นึ่ ง พึ ง จ ด ไ ว้ ใ น ส ม อ ง

เ ร่ ง ร ะ วั ง ผิ ด ส อ ง ภ า ย ห น้ า

ส า ม ผิ ด เ ร่ ง คิ ด ต ร อ ง จ ง ห นั ก เ พื่ อ น เ อ ย

ถึ ง สี่ อี ก ที ห้ า ห ก ซ้ำ อ ภั ย ไ ฉ น ฯ

มุมมองทางการเมือง

 ก า ร เ มื อ ง ต้ อ ง คู่ ศี ล ธ ร ร ม

หน้าที่การงานในอดีต

  ๑.  พ.ศ.๒๕๕๐ กรรมการนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม 
 
  ๒.  พ.ศ.๒๕๕๑ รองประธานนักเรียนรูปที่ ๒ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม 
 
  ๓. พ.ศ.๒๕๕๒ รองประธานรนักเรียนรูปที่  ๑ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม 

หน้าที่การงานในปัจจุบัน

๑.  เป็นเจ้าหน้าที่สารสนส่วน(ส่วนงานห้องสมุด) โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวรารา จังหวัดฉะเชิงเทรา (http://itc-sohtorn.blogspot.com)

๒.  ครูพระสอนศีลธรรม สังกัด มมร. จังหวัดฉะเชิงเทรา

ประวัติการศึกษาทางด้านธรรมะ

๑.  สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ. ๒๕๕๐ วัดแจ้งแสงอรุณ(พระอารามหลวง) จังหวัดสกลนคร

๒.  สอบได้นักธรรมโท พ.ศ. ๒๕๕๑ วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา

๓.  สอบได้วุฒิบัตร ป.ธ. ๑-๒ พ.ศ. ๒๕๕๑ วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา 

๔. สอบได้นักธรรมเอก พ.ศ. ๒๕๕๒ วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา 

๕. สอบได้ประเปรียญธรรม ๓ ประโยค พ.ศ. ๒๕๕๒ วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา

๖.  สอบได้ประเปรียญธรรม ๔ ประโยค พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา  

ประวัติการศึกษาทางด้านสามัญ


 1. จบการศึกษาระดับประถมศึกษา โรงเรียนชุมชนโนนหอมไผ่ล้อม   จังหวัดสกลนคร

2.  จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล 2 (เปลี่ยนเป็นโรงเรียนสกลทวาปี) จังหวัดสกลนคร

3.  จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา

4.  กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดโสธรวราราม  คณะครุศาสตร์  สาขาวิชาสังคมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls