@ธรรมะ สวัสดีทุกท่าน@ @เชิญเขียนบทความเกี่ยวกับธรรมะได้ ครับ แล้วส่งมาที่charan_54@hotmail.co.th@ @บุญไม่ทำมัวแต่อ้วนวอน ระวังเทวดาจะย้อนว่า วอน วอน วอนเสียแล้ว@ @เดินอย่างมีความสุขที่ได้เดิน เราจะมีอนาคตอยู่ในปัจจุบัน@

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กำลังใจหาได้จากที่ไหน

กำลังใจหาได้จากที่ไหน

กำลังใจ เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับคนเรา ถ้าขาดกำลังใจเสียแล้ว คงไม่มีแรงอะไรมาผลักดันให้เราฟันฝ่าอุปสรรคได้ ต่อไปดีไม่ดีอาจถึงขนาดคิดฆ่าตัวตาย เพราะหมดกำลังใจที่จะสู้ชีวิตก็ได้


วิธีแรก ให้ จดบันทึกและสะสมภาพเหตุการณ์ดีๆในชีวิตเอาไว้ จะเป็นเหตุการณ์อะไรก็ได้ที่เคยทำให้เรามีความ สุข สดชื่น และสมหวังในชีวิตมาแล้ว เช่น วันรับปริญญา วันที่พบคนรักครั้งแรก วันแต่งงาน วันที่ได้เลื่อนตำแหน่ง วันที่ได้เป็นเจ้าของบ้านอย่างเต็มภาคภูมิ วันที่ได้ไปท่องเที่ยวสนุกสนาน เป็นต้น แล้วว่างๆ ก็เอาบันทึกหรือภาพถ่าย มาดูจะช่วยให้ย้อนระลึกถึงความสุขในอดีต ทำให้มีกำลังใจที่จะสู้ปัญหาในปัจจุบันต่อไป


วิธีต่อมาให้สะสมคติพจน์ คำคม สุขภาพจิต หรือคำปลุกใจต่างๆ เอาไว้ เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน “ลำบากก่อนแล้วจะสบายเมื่อปลายมือ” “ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรู คือ ยาชูกำลัง” “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ควรติดสุภาษิตเหล่านี้ไว้ ตามฝาผนัง หน้ากระจก หน้าประตู เพื่อให้ตัวเองเห็นบ่อยๆ จะได้มีกำลังใจอยู่เสมอ


ท้าย สุด คือ ให้นึกถึงคนที่เรา ชื่นชมยกย่องในความมานะ อุตสาหะของเขา เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตด้วยความบากบั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ จะเป็นใครก็ได้ทั้งนั้น เก็บเขาคนนี้ไว้ในใจของเรา เมื่อใดที่เรารู้สึกท้อแท้ หมดกำลังใจที่จะสู้ต่อไป ก็ให้นึกถึงเขา คนนั้น คิดว่าเราต้องอดทน มีมานะ เหมือนเขาคนนั้น เพื่อที่เราจะได้ประสบความสำเร็จเหมือนเขาเช่นกัน เราก็จะเกิด กำลังใจ ที่จะเอาชนะปัญหาอุปสรรคให้ได้ ขอย้ำว่ากำลังใจนั้นไม่ต้องไปหาที่ไหน อยู่ที่ใจของเรานั้นเอง





วิธีปลอบใจที่ได้ผล

คงมีบางครั้งเหมือนกัน ที่เราเห็นคนใกล้ชิดมีความทุกข์แล้ว เราเองก็อยากจะปลอบใจเขา แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้น อย่างไร และก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เราจะพูดออกไปนั้น มันเหมาะสมหรือไม่ ดีไม่ดีแทนที่เขาจะรู้สึกดีขึ้น อาจจะรู้สึก แย่ลงกว่าเดิม ทำให้เราต้องรู้สึกผิดหนักขึ้นไปกว่าเดิม ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่า ตัวคุณจะปลอบใจใครได้ เรามีวิธีที่จะ แนะนำคุณดังนี้


ประการแรก ให้คุณไปอยู่ใกล้ๆเขา ไปนั่งข้างๆ ไปให้เขาเห็นหน้าคุณ เพื่อแสดงให้เขารู้ว่าคุณห่วงใยเขาจริงๆ ในกรณีที่คุณไม่สามารถจะไปอยู่ใกล้ชิดเขาได้ ก็อาจจะใช้วิธีโทรศัพท์ไปหา เขียนจดหมาย ส่งการ์ดหรือส่งโทรเลขไปก็ได้ เพื่อแสดงว่าคุณยังนึกถึงเขาอยู่


ประการที่สอง ให้รีบฟังสิ่งที่เขาพูดระบายออกมา คุณต้องเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด ถ้าเขายังไม่มีอารมณ์จะพูดหรือกำลังร้องไห้สะอึกสะอื้น คุณก็ควรรอคอยอย่าง อดทน เมื่อเขาพร้อมที่จะพูด คุณก็ต้องฟังอย่างตั้งใจ ควรพูดเข้าข้างเขา แสดงตัวว่าเป็นพวกเดียวกับเขา และ พร้อมจะให้ความช่วยเหลือเขาเสมอ ที่สำคัญคุณต้องเก็บเรื่องของเขาไว้เป็นความลับ ไม่เอาไปพูดต่อและเมื่อ บอกกว่าจะช่วยก็ต้องช่วยจริงๆ อย่าไปพูดสัญญาลมๆ แล้งๆ ที่คุณทำจริงไม่ได้ เขาจะหมดความเชื่อถือในตัวคุณ


คุณ ต้องให้กำลังใจเขา ช่วยให้เขามองเห็นทางออก ในเรื่องที่เขากำลังกลุ้มใจอยู่คุณต้อง ช่วยให้เขามีความหวังในชีวิต อย่าเพิ่งคิดสั้น เพราะตัวเขานั้นยังมีคุณค่าต่อคุณ ต่อครอบครัวของเขาและต่อสังคมด้วย


ประการสุดท้าย ช่วย ให้เขาตัดสินใจเลือกทางแก้ไขปัญหา ด้วยตัวของเขาเอง คุณอย่าไปตัดสินใจแทนเขา ต้องให้เกียรติในการติดสินใจของเขา และคุณต้องแสดงความจริงใจ ที่จะช่วยเหลือเขาต่อไปด้วย เพียงเท่านี้ เขาคนนั้นก็จะคลายทุกข์ และมีกำลังใจที่จะสู้ชีวิตต่อไปอย่างแน่นอน


เมื่อ มีปัญหาในชีวิตของคนเรา ปัญหาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ไม่มีใครจะหนีปัญหาได้พ้น เพราะฉะนั้น ถ้าตอนนี้คุณกำลังมีปัญหาอยู่ อย่าเพิ่งวิตกกังวล หรือกลุ้มอกกลุ้มใจมากจนเกินไปเลย เรามาช่วยกันคิดแก้ปัญหาดีกว่า


ตามปกติวิธีแก้ปัญหาจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือการสู้ การหนี และการรอมชอม ซึ่งแต่ละวิธีมีรายละเอียดดังนี้


การสู้ หมายถึง การพยายามหาทางแก้ปัญหาอย่างสุดกำลัง ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลัง ทรัพย์ เรียกว่าทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได ้และถ้าลองแก้ปัญหาด้วยวิธีหนึ่งแล้ว ยังไม่ได้ผลก็จะหันไป ลองใช้อีกวิธีหนึ่ง เปลี่ยนวิธีไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผล หรือแก้ปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้ ก็ต้องลอง ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เพื่อเขาจะช่วยได้ วิธีนี้เรียกว่า สู้ยิบตาไม่ยอมแพ้จนกว่าปัญหาจะหมดไป


วิธีต่อมา คือ การหนี หมาย ถึง การหลบเลี่ยงปัญหา อาจหลบไปชั่วคราวเพื่อไปตั้งหลัก แล้วกลับมาสู้ใหม่ หรือจะเป็นการหนีเพื่อยอมแพ้ ในกรณีที่ยังรู้สึกว่าปัญหานั้น มันอยู่นอกเหนือความสามารถของเราที่จะแก้ไขได้ สู้ต่อไปก็เสียเวลาเปล่า สู้เอาเวลาไปทำอย่างอื่น ที่มีประโยชน์กว่าไม่ได้


วิธีสุดท้าย คือ การรอมชอม หมาย ถึง ถ้าปัญหานั้นเราจะสู้ก็ไม่ไหว จะหนีก็หนีไม่พ้น เรา ควรใช้วิธีปรับตัวปรับใจ เพื่อให้เรามีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ตามสมควรแก่อัตภาพ โดยไม่เครียดจน เกินไป


คุณคิด ว่าจะใช้วิธีไหนแก้ปัญหาของคุณดี อยากแนะนำว่าให้คุณลองสู้ให้สุดความสามารถก่อน ถ้าไม่ไหวอาจถอยมาตั้งหลักสักพัก แล้วค่อยสู้ใหม่แต่ถ้าสู้ไม่ได้จริงๆ ก็คงต้องปรับตัวปรับใจให้ยอมรับปัญหานั้นให้ได้ต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้คุณแก้ปัญหาของคุณได้ในที่สุด


วิธีเอาชนะความเศร้า

คุณ กำลังเศร้าโศกเสียใจอยู่หรือเปล่า ไม่ว่าคุณจะเศร้าเพราะสาเหตุใด จะเพราะสูญเสียคนรัก ของรักหรือผิดหวัง ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาก็แล้วแต่ ขอให้คุณระบายอารมณ์เศร้าออกมาให้มากที่สุด อยากร้องไห้ก็ร้องเสียให้พอ อยากบอกความทุกข์ในใจกับใครก็จงพูดออกมา หรือจะเขียนเป็นจดหมาย เป็นบันทึก หรือเป็นบทกลอนก็ได้ สุดแต่ว่าคุณจะถนัดอย่างไหน การระบายความเศร้าออกไป จะช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้น


นอกจากนี้ การจมอยู่กับความเศร้า ไม่สนใจดูแลตัวเองไม่กิน ข้าวกินปลา เอาแต่เก็บตัวอยู่ตามลำพัง ฟังแต่เพลงเศร้าๆ ก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น มีแต่จะยิ่งทำให้ตัวเองทรุดโทรมลง จนอาจถึงขั้นเจ็บป่วยได้ ขอให้คุณแข็งใจลุกขึ้นทำกิจวัตรประจำวันอย่างเดิม พยายามกินอาหาร เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง พยายามฝืน ใจทำงานจะเป็นงานบ้าน งานอดิเรก หรืองานอาชีพก็ได้ งานจะช่วยหันเห ความสนใจของคุณไปเสีย จากความเศร้า และงานยัง จะช่วยให้คุณ เห็นคุณค่าของตัวเอง ที่มีต่อคนอื่นด้วยโดยเฉพาะงานกุศล หรืองานช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก จะทำให้คุณเลิกสงสารตัวเอง เลิกหมกมุ่นกับความเศร้าได้อย่างวิเศษ แต่ถ้าคุณหรือคนใกล้ชิด มีอารมณ์เศร้าอยู่เป็นเวลานาน และมีความคิดอยากตายด้วย อย่าได้นิ่งนอนใจเป็นอันขาด ขอได้ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อขอรับการรักษาโดยด่วน ก่อนที่จะสายเกินไป


แหล่งข้อมูล : http://www.juniorhealthguard.org
ผู้รวบรวมบทความ | กรกฎาคม 23, 2010 at 14:52 | ป้ายกำกับ: สร้างกำลังใจ | Categories: เส้นทางสร้าง “กำลังใจ” | URL: http://wp.me/pTdYz

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

'นวด' จนน่วม! อ่วมเพราะรักสบาย

'นวด' จนน่วม! อ่วมเพราะรักสบาย



มุมสุขภาพ


‘สามัญประจำบ้าน’ สัปดาห์นี้ มีเรื่องราวควรรู้เกี่ยวกับการนวดแก้ปวดเมื่อยที่หลายๆ คนชื่นชอบกันนัก แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้เลยว่า การนวดก็มีอันตราย หากไปกดทับกระแทกถูกอวัยวะสำคัญบางแห่ง อาจทำให้บาดเจ็บได้ทีเดียว เรื่องนี้ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ มีข้อมูลมาบอก...

ในสากลโลกก็มีการปรนเปรอเพื่อ “เติมเต็ม” ความรักนี้อยู่หลายแบบ มีอยู่แบบหนึ่งที่ช่วยให้เต็มได้ง่ายและทำให้คนติดกันงอมแงมไปทั้งบ้านเมืองด้วย นั่นคือ การใช้สัมผัส เข้าช่วยครับ

สำหรับบางคนอาจเรียกว่า “การนวด” แต่ที่จริงแล้วมีมากกว่านั้น เช่น การกอดก็เป็นการช่วยเติมรักที่ดี แม้คนไทยจะไม่มีวัฒนธรรมกอดแต่การจับมืออย่างเห็นใจ หรือมารดาใช้มือลูบไล้ลูกน้อยด้วยความรักเปี่ยมหัวใจนั้นก็ยิ่งใหญ่ช่วยไล่ โรคภัยได้มาก ทางอายุรวัฒน์เรียก “สัมผัสบำบัด”

ในคนไทยต้องจัดให้เป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่แห่งการสัมผัสบำบัดโดยเฉพาะเรื่องนวดที่พูดขึ้นมาต้องนึกถึงเมืองไทยก่อน อย่างตอนที่อดีตประธานาธิบดีจิมมี คาเตอร์ มาทางเหนือก็ว่ากันว่าท่านชื่นชมการนวดจับเส้นแบบไทยมาก นวดไทยทำได้ตั้งแต่แก้เมื่อย,แก้นิ้วล็อคและยุคนี้มีถึงนวดเสริมอึ๋มในสตรี ที่กำลังนิยม รวมความแล้วการนวดเป็นสิ่งที่ผู้คนไม่ค่อยปฏิเสธกันนัก

ศาสตร์การนวดเป็นของดีนะครับ ช่วยคนไข้ให้รอดจากผ่าตัดและหายจากโรคมาได้มากมาย จากประสบการณ์ผ่านมาก็ได้เห็นหลายรายอยู่ครับ แต่ด้วยความรู้ในเรื่องนวดผมยังน้อยไม่เท่ากับผู้ที่เชี่ยวชาญแล้ว แต่ก็รู้สึก “ทึ่ง” ทุกครั้งยามได้เห็นกรรมวิธีนวดที่มีกายวิภาคตามแบบของเขา

เป็นต้นว่า ปวดหลังแต่กดท้องเพื่อช่วยลดอาการปวด หรือนวดแล้วดัดพร้อมกับประคบแล้วผู้ป่วยก็หายปวดได้ในบัดดล น่าค้นคว้าเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องของเรื่องคือเพราะรูปหล่อพระฤาษีในท่าดัดตนต่างๆนั้นมีอยู่ไม่หมดครับ ด้วยหล่อไว้นานกาเลเต็มทีอย่างฤาษีดัดตนที่เหลืออยู่บ้างนี้คือหล่อเอาไว้ แต่ครั้งแผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ ก็ชำรุดและหายหกตกหล่นไป ทำให้ได้ท่าทางไม่ครบ ต่อกันไม่ติด ท่าที่เหลือจะบิดอย่างไรดัดอย่างไรก็อาศัยคิดวิเคราะห์เอาเองบ้าง อนุมานเอาเองบ้าง และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะครูโบราณท่าน “หวง” ด้วยครับ อย่างตำรายาวัดโพธิ์ครั้งพระนั่งเกล้าฯทรงมีพระบัณฑูรให้หมอหลวงทั่วแผ่นดิน มาช่วยกันชำระและจารึกไว้ก็ไม่ได้บอกรายละเอียด

-@- 4 ที่เสี่ยง เดี้ยงจากนวด -@-


การนวดให้ดีต้องมีครูและที่สำคัญอีกประการคือต้องรู้ “กายวิภาค” คืออะไหล่ร่างกายมนุษย์นี้ให้ดี ไม่มีอะไหล่ให้เปลี่ยนนะครับ

ถ้านวดเพี้ยนไปจากตำราอาจเป็นการเพิ่มโรคแก่ผู้มานวดมากกว่าช่วยบำบัด ในส่วนของอวัยวะที่เป็น “จุดอ่อน” ของการนวดมีอยู่หลายส่วน ทั้งท่านที่ชอบนวดและไม่เคยนวดก็ควรรู้ไว้บ้างครับว่าบริเวณใดที่ทำให้เกิด นวดน่วมรวมฮิตได้เพราะในบางครั้งนอกจากไม่มีให้เปลี่ยนแล้วยังอาจต้องนั่ง รักษากันยาว

อวัยวะที่ไม่ควรเอาไปจำนำไว้กับฝ่ามือฝ่าเท้าใครมีดังต่อไปนี้ครับ...


"คอ" ระวังให้ดีที่สุดเพราะเป็นจุด “ชุมสาย” เส้นประสาทและเส้นเลือด ถ้าถูกทุบถูกขยำจนย่ำแย่เสียที่ศูนย์ใหญ่แล้ว ใต้คอลงไปเป็นไร้ความรู้สึกได้เลยนะครับ สำหรับคอขอให้นวดอย่างเบามือและถ้ารู้สึกเจ็บจนทนไม่ไหวหรือมีอาการชาแบบแปลกๆเมื่อไรขอให้รีบบอกทันทีเลยครับ

"ศีรษะ" ทราบกันดีที่สุดว่าเป็นจุดสำคัญแม้มันจะมีกะโหลกหุ้มอยู่แต่บางท่าของการนวด อย่างใช้สันมือทุบต้นคอจนกระเทือนไปถึงท้ายทอยอย่างรุนแรงมีสิทธิ์ทำให้เลือดตกในสมองได้(Subdural hematoma)โดยเฉพาะในผู้อาวุโสจะเสี่ยงมากกว่าครับเพราะสมองอยู่ในสภาพฝ่อจึงแกว่งไปมาได้มากกว่า

"สันหลัง" เหมือนกับลำไม้ไผ่ท่อนเดียวที่เกี่ยวยึดให้ร่างกายเราตั้งตรงอยู่ มาคู่กับอันตรายเวลาบิดหรือเอี้ยวกายผิดไปนิดมีสิทธิ์ปวดยาวเรื้อรัง ท่าต้องห้ามสำหรับสันหลังคือ “เหยียบ” หรืองอแล้วบิดเอี้ยวเพราะทำให้หมอนรองกระดูกถูกแรงกดมหาศาลจนทานไม่ไหว

"มดลูก(ท้องน้อย)"
ส่วนภายในที่อ่อนนุ่มที่สุดของสตรีแต่ไม่มีกระดูกมาช่วยคลุมทำให้เกิดรูโหว่ ที่แรงกดโผล่ไปเบียดบีบมดลูกจนเลือดออกได้ ยิ่งในผู้มีถุงน้ำรังไข่,ก้อนเนื้องอกมดลูกหรือในกรณีเลวร้ายสุดคือ “ตั้งครรภ์” โดยไม่ทราบมาก่อนการนวดอาจทำให้ตกเลือดช็อคได้

แม้จะฟังดูน่าเสียวไส้ แต่ที่เล่ามาทั้งนี้ไม่ได้ให้ท่านหนีการนวดนะครับ เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่อารัมภบทให้เห็นอานิสงส์การนวดที่บำบัดโรคได้มาก เพียงแต่การทำหัตถการเช่นว่าอย่าชะล่าใจว่าเป็นแค่บีบเค้นไม่เป็นไร

ขอให้เคล็ดควรจำสำหรับผู้ถูกนวดไว้สักนิด 3 อย่างคือ เจ็บให้บอก,ต้องออกชื่อโรค และโบกมือให้หยุด

ข้อแรกหมายความว่า การนวดที่ดีไม่จำเป็นต้องเจ็บก่อนแล้วจึงสบาย เพราะมันอาจกลายเป็น “ทำลาย” ก็ได้ ส่วนข้อสองที่ต้องบอกชื่อโรคกับหมอเพราะโรคประจำตัวบางโรคเป็นอันตรายต่อการ นวดได้อาทิ ความดันโลหิตสูง,กระดูกทับเส้นประสาทอยู่ มีหมอนรองกระดูกไม่ดีหรือมีเหล็กดาม เป็นต้น อย่างนี้ผู้นวดจำเป็นต้องรู้ ซึ่งถ้าเราไม่บอกจะไปโทษเป็นความผิดผู้นวดไม่ได้ช่วยกันคนละมือละไม้จะได้ ปลอดภัย.


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=460&contentId=143653

น้ำผึ้งแก้ไอได้

น้ำผึ้งแก้ไอได้



มุมสุขภาพ


ไอ ทานยาเท่าไรก็ไม่หายสักที มีทางเลือกอีกหนึ่งวิธีในการช่วยบรรเทา ลอง "น้ำผึ้ง" ดูสิ

อาการไอ นอกจากไม่ดีต่อสุขภาพตนเองแล้ว ยังสร้างความรำคาญให้ผู้อื่นอีกด้วย อีกทั้งเป็นแต่ละทีก็นานแสนนานกว่าจะหาย ทานยาเม็ดก็แล้ว ยาน้ำก็แล้ว ก็ยังไออยู่ ลองใช้วิธีต่อไปนี้เป็นทางเลือกในการรักษา

ให้ลองมองหาน้ำผึ้ง อาหารตามธรรมชาติ หาซื้อไม่ยาก รสชาติอร่อย แค่บีบมะนาวฝานสด ๆ หนึ่งเสี้ยวเข้าปากให้ลงลำคอ แล้วจิบน้ำผึ้งแท้ 1 ช้อนโต๊ะ อมไว้สักครู่แล้วค่อยกลืน แก้ไอได้ดีมาก

แต่ถ้าต้องการเก็บไว้จิบระหว่างวัน ให้เตรียมน้ำผึ้งและน้ำมะนาว ในอัตราส่วน น้ำผึ้ง 3-4 ส่วน ต่อ น้ำมะนาว 1 ส่วน แล้วนำน้ำผึ้งไปเคี่ยวบนเตาไฟ เมื่อเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น เสร็จแล้วค่อยเติมน้ำมะนาวลงไปตามสัดส่วนที่กำหนด วิธีนี้สามารถนำน้ำผึ้งเก็บใส่ขวด เพื่อเก็บไว้จิบแก้ไอได้บ่อย ๆ ตามที่ต้องการ เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย

ถ้าหากมีอาการไอเรื้อรัง ลองสูตรดังต่อไปนี้ ใช้น้ำผึ้งประมาณ 500 กรัม และขิงสดประมาณ 1 กิโลกรัมครึ่ง คั้นขิงสดเอาแต่น้ำ นำมาผสมกับน้ำผึ้ง ต้มจนแห้ง รับประทานในปริมาณขนาดเท่าลูกอม 1 เม็ด จะช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรังได้

ผลงานวิจัยพบว่าน้ำผึ้งแท้สามารถบรรเทาอาการไอจากหวัดได้ดีกว่ายาแก้ไอที่มี จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปด้วยซ้ำ สาเหตุที่ทำให้น้ำผึ้งบรรเทาอาการไอได้นั้น เนื่องมาจากน้ำผึ้งทำให้ลื่นคอและรู้สึกผ่อนคลายที่ลำคอ แต่มีข้อควรระวังว่า ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี.


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=424&contentId=147772

วิธีถนอมดวงตาหน้าคอมพิวเตอร์

วิธีถนอมดวงตาหน้าคอมพิวเตอร์



มุมสุขภาพ


เช็ค “ดวงตา” ถูกใช้งานอย่างหักโหมหรือไม่?!! พร้อมวิธีแก้ไขควรปฏิบัติ ช่วยถนอม “สายตา” ยามนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์

นักศึกษายุคไอทีที่ต้องหาข้อมูล ทำการบ้าน หรือพิมพ์รายงานผ่านคอมพิวเตอร์นานหลายชั่วโมง หากรู้สึกตาแห้ง แสบ พร่ามัว ปวดกระบอกตา หรือเห็นแสง-สีผิดจากปกติ นั่นเป็นสัญญาณของการจ้องจอคอมฯ นานเกินไป แม้ไม่อันตราย แต่บั่นทอนประสิทธิภาพการเรียนรู้ ดังนั้น เพื่อดวงตาคู่สวยทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพไปนาน ๆ จึงต้องหมั่นถนอมด้วยวิธีต่อไปนี้

1.จอคอมพิวเตอร์ควรห่างจากสายตาประมาณ 1 ช่วงแขน และปรับจุดกึ่งกลางจอคอมฯ ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 20 องศา เป็นระยะที่ช่วยลดอาการเมื่อยเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ หลัง และคอได้

2.ปรับแสง และความคมชัดหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้รู้สึกสบายตา โดยไม่ต้องเพ่ง ควรพิจารณาแสงไฟในห้องด้วยว่า เมื่อส่องกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้ว จ้าเกินไปหรือไม่ เพราะจะทำให้ดวงตาเมื่อยล้า แห้ง และแสบได้ง่าย นอกจากนี้ ควรติดแผ่นกรองรังสี เพื่อลดการกระจายแสง

3.พักสายตาทุก 30 นาที โดยหลับตา หรือมองไปไกล ๆ ประมาณ 5 นาที อาจใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ประคบดวงตา ประมาณ 2-3 นาที จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา และทำให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาได้ดี

4.ควรกระพริบตาให้บ่อยขึ้น เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา ช่วยลดอาการแสบตา ตาแห้ง และความอ่อนล้าของดวงตาได้ ทั้งนี้ ผลการวิจัยในต่างประเทศพบว่า การนั่งจ้องคอมฯ เป็นเวลานาน อัตราการกระพริบตาจะลดลงโดยไม่รู้ตัว ถึงร้อยละ 60

5.สำหรับคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ มักตาแห้งได้ง่าย กรณีนี้การหยอดน้ำตาเทียมจะช่วยบรรเทาอาการปวด และแสบตาได้ แต่ควรใช้เมื่อมีอาการ

6.ทำความสะอาดหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เพราะฝุ่นที่หนาจะทำให้แสงสะท้อนเข้าตาได้มากขึ้น

แม้การใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยจ้องจอคอมพิวเตอร์ ไม่ ควรเกิน 4 ชั่วโมงต่อวัน จะเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากสำหรับหนุ่ม-สาวยุคไอที แต่สามารถถนอมดวงตาได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีข้างต้น เพียงหมั่นปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพื่อสายตาได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพนานที่สุด.

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=651&contentID=154679

ทำ 'แผลแห้ง-แผลเปียก' ถูกวิธี

ทำ 'แผลแห้ง-แผลเปียก' ถูกวิธี

เกร็ดความรู้


เวลาเกิดอุบัติเหตุจนทำให้บาดเจ็บและเป็นแผล สิ่งที่จำเป็นอย่างมากก็คือ การทำแผลเพื่อป้องกันเชื้อโรค และยังถือเป็นการรักษาอาการบาดเจ็บด้วย ทว่าการทำแผลนั้นก็ต้องทำให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพแผล เพื่อให้แผลหายเร็ว และลดความเสี่ยงเกิดอักเสบติดเชื้อ

โดยแผลนั้น มี 2 ประเภท คือ แผลแห้ง เป็นแผลที่มีลักษณะปิด ไม่มีการอักเสบ และไม่มีสิ่งขับหลั่งออกมาจากแผล อีกประเภทเรียกว่า แผลเปียก มีลักษณะเป็นแผลเปิด มีการอักเสบ มีสิ่งขับหลั่งออกมาจากแผล เช่น เลือด น้ำหนอง

การทำแผลและการปิดแผลของแผลแห้งกับแผลเปียกจะต่างกัน ครั้งนี้ขอแนะวิธีทำแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุใกล้ตัว อาทิ หกล้มจนผิวหนังถลอก ถูกของมีคมบาด เริ่มจากการทำแผลแห้ง ให้ใช้สำลีประมาณ 2-3 ก้อน หรือมากน้อยกว่านี้ตามขนาดของแผล ชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดลงที่แผลเบาๆ ด้วยเทคนิคเช็ดให้ชิดขอบแผลและวนออกนอกแผลให้ห่างออกไปอีกราว 2-3 นิ้ว จากนั้นปิดแผลด้วยผ้าก็อสที่ยึดกับผิวด้วยเทปกาวติดแผลหรือแผ่นพลาสเตอร์ โดยติดตามแนวขวางลำตัว

สำหรับการทำแผลเปียก เริ่มด้วยการเช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ 70% เช่นเดียวกับการทำแผลแห้ง ต่อด้วยการใช้สำลีชุบน้ำเกลือ บางครั้งเรียก โซเดียมคลอไรด์ ช่วยในการกระตุ้นการงอกขยายของเซลล์ใหม่และไม่ทำลายเนื้อเยื่อ หรือใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน กรณีที่เป็นแผลถลอก เนื่องจากสามารถฆ่าได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส แต่ด้วยความเข้มข้นของทิงเจอร์ไอโอดีน อาจทำให้ผิวแสบไหม้ได้ ดังนั้น หลังจากใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนเช็ดแผลผ่านไป 90 นาที ให้เช็ดตามด้วยแอลกอฮอล์ 70% เพื่อลดการระคายเคือง

หรืออาจใช้เบตาดีนแทนทิงเจอร์ไอโอดีนได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ที่อ่อนกว่า และไม่ทำปฏิกิริยาต่อสิ่งขับหลั่ง กรณีที่แผลเปียกมีความสกปรกมาก และมีสิ่งขับหลั่งพวกหนองหรือลิ่มเลือด ควรใช้น้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

ในขั้นตอนการนำสำลีไปชุบน้ำยาที่กล่าวไปนี้ เพื่อเช็ดแผลก็เพื่อฆ่าเชื้อโรค ดูดซับสิ่งขับหลั่ง ให้ความชุ่มชื้นแก่เนื้อเยื่อ

ปิดท้ายการทำแผลเปียกด้วยการใช้ผ้าก็อสหุ้มสำลีเพื่อซับสิ่งขับหลั่ง ยึดติดกับผิวหนังรอบๆ ด้วยเทปกาวติดแผลหรือแผ่นพลาสเตอร์ โดยติดตามแนวขวางลำตัวเช่นกัน.
 
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=457&contentId=152103

คำแนะนำในการเลิกเหล้าเข้าพรรษา

คำแนะนำในการเลิกเหล้าเข้าพรรษา



เกร็ดความรู้


ช่วงเข้าพรรษาแบบนี้ หลายท่านตั้งปณิธานเอาไว้ว่าจะงดเหล้า เลิกเบียร์ ละเว้นอบายมุข วันนี้จึงมีคำแนะนำในการงดแอลกอฮอล์มาฝาก

การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มนุษย์เราขาดสติ จนอาจไปก่อปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรรม หรือที่สำคัญอุบัติเหตุ หลายหน่วยงานได้มีมาตรการในการรณรงค์ให้ลด ละ เลิกอบายมุขสิ่งเสพติดต่าง ๆ ในช่วงเข้าพรรษา 3 เดือนนี้ ท่านใดสนใจ แต่รู้สึกว่าปฏิบัติได้อย่างยากลำบาก ลองอ่านคำแนะนำดังต่อไปนี้

1. ทบทวนถึงส่วนดีและส่วนเสียของเหล้าว่ามีอะไรบ้าง ลองนึกย้อนกลับไปยังอดีตเทียบเคียงกับประสบการณ์จริงของตนเอง ว่าตอนดื่มหรือไม่ดื่มแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

2. ระลึกถึงครอบครัวที่ท่านรักและเคารพ อันได้แก่ ลูก สามี ภรรยา พ่อ แม่ และนึกถึงภารกิจหรือภาระรับผิดชอบของตนเองที่มีต่อพวกเขาเหล่านั้น แล้วตัดสินใจว่าจะดื่มต่อไปหรือจะหยุดดี ถ้าจะดื่มต่อไป แล้วเมื่อไรจะเลิก หรือว่าจะดื่มจนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

3. ถ้าจะหยุดและคิดจะเลิก ให้คิดว่าจะทำอย่างไรดี ให้จิตใจเข้มแข็ง สัญญากับผู้ที่ท่านรักว่าจะเลิกดื่ม โดยค่อย ๆ ทำ จนสามารถเลิกขาดได้ในที่สุด

4. การเลิกเหล้ามีหลายวิธี เช่น การใช้การบำบัดทางจิตสังคม ได้แก่ จิตบำบัดรายบุคคล จิตบำบัดแบบกลุ่ม และการใช้ยา มีสถานบริการทั่วไป ในทุกโรงพยาบาลของรัฐ นอกจากนั้น ยังมีศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด ซึ่งเป็นสถานบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาจาก การใช้สุราอีกด้วย

5. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านอดเหล้าอย่างเคร่งครัด วางตัวให้ห่างจากขวดเหล้า และห่างจากเพื่อนกินเหล้า หันมาคบกับเพื่อนกลุ่มที่สนใจกับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น กีฬา ดนตรี สิ่งดี ๆ ที่ท่านชอบ หรือสิ่งที่ทำให้ท่านหลุดพ้นจากอิทธิพลของเหล้า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตใจของผู้ที่ต้องการเลิกเองด้วย ว่ามีความตั้งใจหรือความพยายามมากน้อยเพียงใด.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=424&contentID=151856




ทำอย่างไรเมื่อเหน็บกิน

ทำอย่างไรเมื่อเหน็บกิน



เกร็ดความรู้


หลายท่านคงเคยประสบปัญหาเหน็บกินขา เวลานั่งหรือยืนโดยไม่เปลี่ยนท่า หรือทับเท้าเป็นเวลานาน ๆ ช่วงเวลาแสนทรมานนั้นควรทำอย่างไร วันนี้มีคำแนะนำมาฝาก

อาการเหน็บชาเกิดขึ้นเมื่อมีแรงกดทับส่วนใดส่วนหนึ่งบนแขนหรือขา ทำให้เส้นเลือดไม่สามารถนำออกซิเจนและน้ำตาลกลูโคสไปยังเนื้อเยื่อหรือเส้น ประสาทได้ มีผลคือ เส้นประสาทไม่สามารถสื่อสัญญาณไปยังสมอง จึงทำให้เกิดความรู้สึกชาและเจ็บจี๊ดเหมือนถูกเข็มแทง ใครที่เป็นบ่อย ๆ ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวแดง ข้าวโอ๊ต รำข้าว ตับ ไข่ มันเทศ เป็นต้น หากไม่หายควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้

ใครที่เคยเป็นคงรู้ว่าช่วงเวลาที่เหน็บกินนั้น ทรมานแค่ไหน วิธีแก้ไขง่าย ๆ แนะนำให้นวดที่นิ้วโป้งเท้าข้างที่โดนเหน็บกิน โดยบีบแรง ๆ จะสามารถบรรเทาอาการได้ ส่วนคนโบราณมีความเชื่อว่า เมื่อเกิดอาการเหน็บชา ให้หาก้านไม้ขีด หรือกิ่งไม้ขนาดเล็ก ๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงก็ได้ เหน็บเอาไว้ที่หูข้างที่มีอาการเหน็บชา ประมาณ 20 วินาที จะช่วยทำให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติได้ อีกวิธีหนึ่งคือ ให้นำเชือกมาผูกที่หัวแม่เท้าข้างที่เป็นเหน็บ รัดให้แน่น ๆ 2-3 รอบ แล้วรอสักครู่ เท้าที่เป็นเหน็บจะหายเป็นปลิดทิ้งเลยทีเดียว.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=424&contentId=150514

วิชาธรรมวิภาค(ปกิณณกะ คือ หมวดเบ็ดเตล็ด)

ปกิณณกะ คือ หมวดเบ็ดเตล็ด

อุปกิเลส หมายถึง โทษเครื่องเศร้าหมอง โทษเครื่องที่เข้าไปทำใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ หมายถึง ความโลภไม่สม่ำเสมอคือความเพ่งเล็ง เป็นความโลภมากอยากได้สิ่งของของผู้อื่นโดยไม่เลือกว่า จะได้มาโดยวิธีใด ดีหรือชั่ว สมควรหรือไม่อย่างไร มุ่งแต่จะเอาให้ได้อย่างเดียว เมื่อความโลภเพ่งเล็งเกิดขึ้น ควรระงับด้วยสันโดษ ความยินดีตามมีตามได้
๒. โทสะ หมายถึง ความขัดเคือง ความไม่พอใจ เป็นความร้ายกาจที่ทำให้ใจเดือดร้อน เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้กับใครอย่างรุนแรง ย่อมคิดหาทางทำลายหรือประทุษร้าย คิดล้างผลาญผู้นั้น เมื่อโทสะเกิดขึ้น ควรระงับด้วยเมตตา
๓. โกธะ หมายถึง ความโกรธ เป็นความขุ่นแค้นหรือขัดเคืองของจิตในเรื่องที่ไม่ถูกใจไม่ชอบใจ หรือการเป็นคนขี้โมโหฉุนเฉียวเมื่อไม่ได้อย่างที่ใจของตนต้องการ เมื่อความโกรธเกิดขึ้นควรระวังด้วยเมตตา
๔. อุปนาหะ หมายถึง ความผูกโกรธ เป็นการผูกใจเจ็บความโกรธนั้นไว้ในใจไม่รู้ลืม ไม่ถึงกับคิดจองผลาญทำร้ายเขา แต่ก็ไม่ยอมอภัยโทษให้เขา ไม่อยากประสบพบเจอกับผู้นั้นอีก เมื่อความผูกโกรธเกิดขึ้น ควรระงับด้วยเมตตาและกรุณา
๕. มักขะ หมายถึง ความลบหลู่คุณท่าน เป็นการไม่รู้จักบุญคุณที่ผู้อื่นทำไว้แก่ตน เป็นผู้ที่ขาดกตัญญูกตเวทิตาธรรมคิดแต่จะลบล้างคุณความดีของผู้อื่นที่มีต่อตน เมื่อความคิดลบหลู่บุญคุณท่านเกิดขึ้น ควรระงับด้วยกตัญญูตเวทิตา รู้คุณแล้วทำตอบแทน
๖. ปลาสะ หมายถึง ตีเสมอคือยกตนเทียมท่าน เป็นความคิดตีเสมอกับผู้อื่น ทั้งที่ตัวเองด้อยกว่าเขาทุกด้าน แต่เกิดความทะนงตนว่าดีกว่าหรือเทียมเท่ากับเขา เมื่อเกิดคิดตีตนเสมอท่านขึ้น ควรระงับด้วยอปจายนะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน
๗. อิสสา หมายถึง ความริษยา เป็นความอิจฉาตาร้อนเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน ก็ทนอยู่ไม่ได้ ไม่อยากให้เขาได้ดีไปกว่าตน คอยแต่จะกีดกันความดีของเขา เมื่อความริษยาเกิดขึ้นควรระงับด้วยมุทิตา พลอยยินดีไปกับความสำเร็จของผู้อื่น
๘. มัจฉริยะ หมายถึง ความตระหนี่ ความเสียดายหวงแหนไม่กล้าสละสิ่งของตนแก่ผู้อื่น คิดถึงแต่ประโยชน์ของตนไม่คำนึงถึงส่วนรวม เป็นคนมีจิตใจคับแคบ เมื่อความตระหนี่เกิดขึ้น ควรระงับด้วยทาน การให้ หรือจาคะ การเสียสละ
๙. มายา หมายถึง ความมีมารยา เป็นคนเจ้าเล่ห์เหลี่ยมจัดชอบหลอกลลวงผู้อื่น หรือชอบแกล้งไขสือปกปิดความผิดของตนไว้ทั้งที่ตนทำผิด เมื่อความมีมารยาเกิดขึ้น ควรระงับด้วยอาชวะ ความเป็นคนชื่อตรง
๑๐. สาเถยยะ หมายถึง ความมักอวด เป็นคนขึ้นโม้โอ้อวดสรรพคุณของตนเองว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้ผู้อื่นชื่นชมยกยอ่งตนว่าเป็นคนเก่งคนดี พูดง่ายๆ ก็คือเป็นคนอวดดี เมื่อความอวดดีเกิดขึ้น ควรระงับด้วยอัตตัญญุตา รู้จักประมาณตนและอปจายนะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน
๑๑. ถัมภะ หมายถึง ความหัวดื้อ เป็นคนอวดดื้อถือรั้นเป็นคนหัวแข็งว่ายากสอนยาก แม้ตนจะมีความผิดก็ไม่ยอมรับผิดถือเอาแต่ความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่เชื่อฟังคำแนะนำตักเตือนของใคร เมื่อความหัวดื้อถือรั้นเกิดขึ้น ควรระงับด้วยโสวจัสสตาความเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย
๑๒. สารัมภะ หมายถึง ความแข่งดี เป็นคนไม่รู้จักประมาณตน คิดชิงดีชิงเด่นกับเขา โดยไม่คำนึงถึงฐานะ หรือ วุฒิภาวะของตน มิได้ตั้งใจทำดีเพื่อเป็นคุณประโยชน์จริง เมื่อเกิดความรู้สึกอยากแข่งดีเกิดขึ้น ควรระงับด้วยอัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณตน และมัตตัญญุตา รู้จักความพอเหมาะพอดี
๑๓. มานะ หมายถึง ความถือตัว เป็นคนทะนงตัวว่า วิเศษวิโสกว่าผู้อื่น สำคัญกว่าผู้อื่น เข้าลักษณะเป็นคนเย่อหยิ่งจองหาอง ชอบดูหมิ่นผู้อื่น เมื่อความมานะเย่อหยิ่งเกิดขึ้น ควรระงับด้วยอัตตัญญุตาและอปจายนะ
๑๔. อติมานะ หมายถึง ความดูหมิ่นท่าน เป็นคนถือตัวจัดเป็นเหตุให้ชอบดูถูกสบประมาทผู้อื่นว่าด้วยกว่าตนไปทุกอย่างมองไม่เห็นส่วนดีของผู้อื่น เมื่อคิดดูถูกดูหมิ่นผู้อื่น ควรระงับด้วยอปจายนะ และคารวตา รู้จักเคารพให้เกียรติผู้อื่น
๑๕. มทะ หมายถึง ความมัวเมา เป็นความมันเมาเพลิดเพลินจนลืมตัว ลืมแม้กระทั่งกิจธุระหน้าที่ของตนจนเสียการเสียงาน หรือความมัวเมาในลาภ ยศ ตำแหน่ง มัวเมาอยู่กับความสุข จนลืมทุกข์ คนมัวเมาอยู่กับ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญจึงเป็นคนฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม จมไม่ลง เมื่อความมันเมากิเลสเกิดขึ้นควรระงับด้วยสติ ใช้เหตุและผลในการพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรู้เท่าทัน
๑๖. ปมาทะ หมายถึง ความประมาทเลินเล่อ เป็นความสะเพร่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดความละเอียดรอบคอบ เป็นผู้ไม่รู้สึกสำนึกตัวทั้งในฐานและความประพฤติของตนว่าเป็นอย่างไรความประมาทแก้ไขได้ด้วยสติ

อุปกิเลส จัดเขาในอกุศลมูลได้ดังนี้ อภิชฌาวิสมโลภะ จัดเข้าในโลภะ, โทสะ โกธะ อุปนาหะ จัดเข้าในโทสะ, มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ และปมาทะ จัดเข้าในโมหะ

โพธิปักขิยธรรม ๓๗
โพธิปักขิยธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ เป็นธรรมที่ทำให้บุคคลผู้หลับคือมีกิเลส ให้ตื่นให้เบิกบานด้วยคุณวิเศษในอริยผลได้จริง เรียกอีกอย่างว่า อภิญญาเทสิตธรรม หมายถึง ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อให้บุคคลรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ มีดังนี้คือ
๑.สติปัฏฐาน ๔ ประการ
๒.สัมมัปปธาน ๔ ประการ
๓.อิทธิบาท ๔ ประการ
๔.อินทรีย์ ๕ ประการ
๖.พละ๕ ประการ
๗.โพชฌงค์ ๗ ประการ
๘.มรรคมีองค์ ๘ ประการ

วิชาธรรมวิภาค(ทสกะ คือ หมวด ๑๐)

ทสกะ คือ หมวด ๑๐

อกุศลกรรมบถ ๑๐
อกุศลกรรมบถ หมายถึง กรรมที่เป็นทางแห่งอกุศลทางที่ผู้ใดทำแล้วถือว่าเป็นการทำความชั่ว อกุศลกรรมบถกับทุจริต ๓ เมื่อกล่าวโดยเนื้อหาก็เหมือนกัน เพียงแต่มีความมุ่งหมายต่างกัน ทุจริต มุ่งกล่าวความประพฤติของบุคคล มุ่งแสดงกิริยาคือความทำ ส่วนอกุศลกรรมบถ มุ่งกล่าวความชั่วที่บุคคลประพฤติ มุ่งแสดงถึงกรรมคือสิ่งที่บุคคลทำ
๑. ปาณาติบาต หมายถึง การฆ่าสัตว์ การทำให้สัตว์ที่ยังเป็นอยู่ให้เสียชีวิต สัตว์ในที่นี้หมายเอาทั้งมนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉาน ไม่ว่าจะตัวเล็กตัวใหญ่ ถ้ามีเจตนาฆ่าสัตว์นั้นให้ตาย เรียกว่า ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน หมายถึง การลักทรัพย์ รวมไปถึงการเบียดบัง ฉ้อ โกง ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นให้เสียหายเป้นต้น ทรัพย์ในที่นี้หมายเอาทั้งสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะมีราคาค่างวดมากน้อยเพียงไรก็ตาม ถ้ามีเจตนาถือเอาสิ่งของนั้นมา เรียกว่า ลักทรัพย์
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร หมายถึง การประพฤติผิดในกามการล่วงละเมิดคู่ครองผู้อื่น รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลต้องห้ามที่ไม่ควรละเมิด เช่น เป็นชู้ในชาย-หญิง ที่มีภรรยา-สามีแล้ว หรือหญิงที่ยังมีพ่อแม่ดูแลปกครองอยู่ ถ้ามีเพศสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านี้ เรียกว่า ประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท หมายถึง การพูดเท็จ พูดโกหก พูดหลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อ เป็นการพูดที่ให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เช่น เห็นก็บอกว่าไม่เห็น รู้ก็บอกว่าไม่รู้ เป็นต้น จะพูดด้วยปาก หรือเขียนเป็นหนังสือ ถ้าตั้งใจจะให้เขาเข้าใจผิดไปจากความจริง เรียกว่า พูดเท็จ
๕. ปิสุณาวาจา หมายถึง การพูดส่อเสียด พูดยุยงให้เขาแตกร้าวผิดใจกัน พูดยุงแยงตะแคงรั่ว โดยนำคำพูดของพวกนี้ไปเล่าให้อีกฝ่ายหนึ่งฟัง บางครั้งไม่พูดเปล่ายังแต่งเติมใส่ไฟเพิ่มเข้าไปอีก เพื่อให้เขาโกรธกัน เรียกว่า พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา หมายถึง พูดหยาบคาย เป้นคำพูดที่ทำให้ผู้รับฟัง หรือผู้ที่ตนพูดใส่ได้รับความเจ็บแค้น เจ็บใจ โดยการพูดกระบทเสียดสีชาติกำเนิด ตระกูล ความรู้ รูปพรรณ สัณฐาน เป็นต้น ด้วยอาการเหยียดหยามดูหมิ่น ทำให้เขาเกิดความเจ็บซ้ำน้ำใจ หรือบันดาลโทสะขึ้น เรียกว่า พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปะ หมายถึง พูดเพ้อเจ้อ เป็นการพูดเหลวไหลไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีเหตุมีผล เข้าลักษณะเป็นการพูดพล่อยๆ สักแต่ว่ามีปากอยากจะพูดก็พูดไปหาแก่นสารอะไรไม่ได้ เรียกว่า พูดเพ้อเจ้อ
จัดเป็นมโนกรรม คือทำด้วยใจ ๓ อย่าง
๘. อภิชฌา หมายถึง ความโลภอยากได้ของผู้อื่น ความคิดเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น คิดเอาแต่ได้ของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่คำนึงว่าควรหรือไม่ควร เมื่อยังไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ย่อมดิ้นรนแสวงหากลวิธีจะเอามาให้ได้ไม่ว่าจะเป็นทางผิดหรือถูก
๙. พยาบาท หมายถึง ความคิดปองร้ายผู้อื่น ความผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น เป็นอาการที่ใจเกิดความขัดเคืองเคียดแค้นเมื่อถูกเขากระทบกระทั้ง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำหรือคำพูดแล้วอยากทำตอบ แต่เมื่อยังไม่สบโอกาสก็ผูกใจเจ็บต่อไปว่าจะต้องแก้แค้นให้ได้ในโอกาสหน้า
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิดจากคลองธรรม เป็นความเห็นผิดจากหลักความจริง เช่น เห็นว่าบาปบุญคุณโทษไม่มีผลให้ได้ดีหรือชั่ว การทำดีหรือชั่วจะให้ผลก็ต่อเมื่อมีผู้รู้เห็น เป็นต้น
บุคคลผู้ทำอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ อย่างนี้ แม้ข้อใดข้อหนึ่ง ท่านกล่าวว่ามีทุคติเป็นที่หวังในโลกหน้า เมื่อขณะยังมีชีวิตอยู่ก็จะประสบความทุกข์ยากลำบากในการดำเนินชีวิต

กุศลกรรมบถ ๑๐
กุศลกรรมบถ หมายถึง กรรมที่เป็นทางแห่งกุศล ทางที่ผู้ใดทำแล้วถือว่าเป็นการทำความดี กุศลกรรมบถ เป็นการกระทำฝ่ายดี จึงมีคำอธิบายและวิธีปฏิบัติโดยความหมายที่ตรงข้ามกันกับอกุศลกรรมบถนั้น
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี หมายถึง การเว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
๒. อทินนาทานา เวรมณี หมายถึง การเว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี หมายถึง การเว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณี หมายถึง เว้นจากการพูดเท็จ
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี หมายถึง เว้นจากการพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี หมายถึง เว้นจากการพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี หมายถึง เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. อนภิชฌา หมายถึง ความไม่โลภอยากได้ของเขา
๙. อพยาบาท หมายถึง ความไม่พยาบาทปองร้ายเขา
๑๐. สัมมาทิฏฐิ หมายถึง การเห็นชอบตามคลองธรรม
กุศลกรรมบถเป็นทางแห่งสุคติ เมื่อบุคคลทำกรรม ๑๐ อย่างนี้ ย่อมมีสุคติเป็นที่หวังในโลกหน้า หรือขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ย่อมประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เป็นต้น
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง
บุญกิริยาวัตถุ หมายถึง วิธีที่จะทำบุญ วิธีที่เมื่อทำแล้วได้ชื่อว่าเป็นการทำความดีและได้รับผลคือความสุข
๑. ทานมัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ กิจที่ถูกต้อง
๖. ปัตติทานมัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญความดีของคนอื่น
๘. ธัมมัสสวนมัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม คือ ฟังเทศน์ ฟังธรรมบรรยาย
๙. ธัมมเทสนามัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม คือตั้งใจเทศน์ ตั้งใจบรรยาย
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ หมายถึง การทำความเห็นให้ตรง ตามความเป็นจริง
ในบุญกิริยาวัตถุนี้ ทิฏฐุชุกรรม เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นเหตุแห่งการทำดีหรือชั่วในบุญกิริยาวัตถุข้อที่เหลือ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ สงเคราะห์ลงในบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ ทานมัย ปัตติทานมัย ธัมมเทสนามัย เป็นทานมัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย เป็นสีลมัย ภาวนามัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย และทิฏฐุชุกรรม เป็นภาวนามัย

ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ อย่าง
๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ
๒. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ความเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย
๓. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า อาการ กาย วาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้
๔. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวของเราเองติเตียนตัวของเราเองโดยศีลได้หรือไม่
๕. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว ติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่
๖. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น
๗. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
๘. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
๙. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรายินดีที่สงัดหรือไม่
๑๐. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง

นาถกรณธรรม คือ ธรรมทำที่พึ่ง ๑๐ อย่าง
นาถกรณธรรม หมายถึง ธรรมทำที่พึ่ง ธรรมที่สร้างที่พึ่งให้แก่ตน คือธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ เมื่อผู้ใดปฏิบัติตามด้วยความเคารพ ย่อมเป็นที่พึ่งของผู้นั้น
๑. สีล หมายถึง การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๒. พาหุสัจจะ หมายถึง ความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมาก
๓. กัลยาณมิตตตา หมายถึง ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม
๔. โสวจัสสตา หมายถึง ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา หมายถึง ความขยันเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุสามเณร
๖. ธัมมกามตา หมายถึง ความใคร่ในธรรมที่ชอบเป็นผู้ใคร่รู้ใคร่เห็น
๗. วิริยะ หมายถึง เพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี
๘. สันโดษ หมายถึง ความยินดี ความพอใจ ด้วยผ้านุ่งผ้าห่ม อาหาร ที่นอนที่นั่งและยา ตามมีตามได้
๙. สติ หมายถึง การนึกขึ้นได้ก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิด มิให้กิจนั้นๆ ดำเนินไปสู่ทางที่ผิด
๑๐. ปัญญา หมายถึง รอบรู้ในกองสังขารตามความเป็นจริง

กถาวัตถุคือถ้อยคำที่ควรพูด ๑๐ อย่าง
กถาวัตถุ หมายถึ สิ่งที่ควรพูด เรื่องที่ควรนำมาสนทนากัน เพราะเป้นเรื่องที่ก่อให้เกิดแต่คุณประโยชน์ทั้งแก่ผู้พูดและผู้ฟัง
๑. อัปปิจฉกถา หมายถึง ถ้อยคำที่ชัดนำให้มีความปรารถนาน้อย
๒. สันตุฏฐิกถา หมายถึง ถ้อยคำที่ชักนำให้มีสันโดษ ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
๓. ปวิเวกกถา หมายถึง ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ
๔. อสังสัคคกถา หมายถึง ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่
๕. วิริยารัมภกถา หมายถึง ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร
๖. สีลกถา หมายถึง ถ้อยคำที่ชัดนำให้ตั้งอยู่ในศีล
๗. สมาธิกถา หมายถึง ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ
๘. ปัญญากถา หมายถึง ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา
๙. วิมุตติกถา หมายถึง ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส
๑๐.วิมุตติญาณทัสสนกถา หมายถึง ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส

อนุสสติ คือ อารมณ์ควรระลึก ๑๐ ประการ
อนุสสติ หมายถึง ความระลึกถึงเนืองๆ อารมณ์ที่ควรระลึกถึงอยู่เนืองๆ อนุสสติทั้ง ๑๐ เป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานเพื่อทำใจให้สงบจากนิวรณ์ ๕
๑. พุทธานุสสติ หมายถึง ความระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอยู่เนืองๆ
๒. ธัมมานุสสติ หมายถึง ความระลึกถึงคุณของพระธรรมอยู่เนืองๆ
๓. สังฆานุสสติ หมายถึง ความระลึกถึงคุณของพระสงฆ์อยู่เนืองๆ
๔. สีลานุสสติ หมายถึง ความระลึกถึงศีลของตนอยู่เนืองๆ
๕. จาคานุสสติ หมายถึง ความระลึกถึงทานที่ตนเคยบริจาคอยู่เนืองๆ
๖. เทวตานุสสติ หมายถึง ความระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดาอยู่เนืองๆ
๗. มรณัสสติ หมายถึง ความระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตนอยู่เนืองๆ
๘. กายคตาสติ หมายถึง ความระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่า ไม่งาม น่าเกลียด โสโครกอยู่เนืองๆ
๙. อานาปานสติ หมายถึง ความตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออกอยู่เนืองๆ
๑๐. อุปสมานุสสติ หมายถึง ความระลึกถึงพระคุณพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวงอยู่เนืองๆ

วิชาธรรมวิภาค(นวกะ คือ หมวด ๙)

นวกะ คือ หมวด ๙
มละ คือ มลทิน ๙ อย่าง
มละ หมายถึง มลทิน คือสังกิเลสทั้ง ๙ นั้น เป็นเครื่องทำบุคคลให้เศร้าหมองทั้งภายในภายนอก
๑.โกธะ หมายถึง ความโกรธ เป็นความขุ่นแค้นหรือขัดเคืองของจิต ในเรื่องที่ไม่ถูกใจไม่ชอบใจตน หรือการเป็นคนขี้โมโหฉุนเฉียวเมื่อไม่ได้อย่างที่ใจของตนต้องการ เมื่อความโกรธเกิดขึ้น ควรระงับด้วยเมตตา รักใคร่อยากให้เขาเป็นสุข
๒.มักขะ หมายถึง ความลบหลู่คุณท่าน คือ การไม่รู้จักบุญคุณที่ผู้อื่นทำไว้แก่ตน เป็นผู้ขาดกตัญญูกตเวทิตาธรรม คิดแต่จะลบล้างคุณความดีของผู้อื่นที่มีต่อตน เมื่อความคิดลบหลู่บุญคุณท่านเกิดขึ้น ควรลบล้างด้วยกตัญญูกตเวทิตา รู้คุณแล้วทำตอบแทน
๓.อิสสา หมายถึง ความริษยา คือ ความอิจฉาตาร้อนเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีก็ทนอยู่ไม่ได้ ไม่อยากให้ผู้อื่นได้ดีไปกว่าตนคอยแต่จะกีดกันความดีของเขา เมื่อความริษยาเกิดขึ้น ควรชำระด้วยมุทิตา รู้จักแสดงความยินดีต่อผู้อื่น
๔.มัจฉริยะ หมายถึง ความตระหนี่ คือ ความเสียดายหวนแหนไม่กล้าสละสิ่งของของตนแก่ผู้อื่น คิดเห็นแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนตนไม่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่น เป็นผู้ที่มีจิตใจคับแคบ เมื่อความตระหนี่เกิดขึ้น ควรกำจัดด้วยทานหรือบริจาค
๕.มายา หมายถึง ความมีมารยา คือ การเป็นคนเจ้าเล่ห์ เหลี่ยมจัดชอบหลอกลวงผู้อื่น หรือชอบแกล้งปกปิดความผิดของตนด้วยการทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งที่ตนทำผิด เมื่อความมีมารยาเกิดขึ้น ควรแก้ด้วยอาชวะ ความเป็นคนชื่อตรง
๖.สาเถยยะ หมายถึง ความมักอวด คือ การพูดอวดสรรพคุณของตนเอง ว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้ผู้อื่นชื่นชมยกย่องตนว่าเป็นคนเก่งคนดี พูดง่ายๆ ก็คือเป็นคนอวดดี เมื่อความอวดดีเกิดขึ้น ควรละด้วยอัตตัญญุตา รู้จักประมาณตน และอปจายนะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน
๗.มุสาวาท หมายถึง การพูดปดมดเท็จ คือ การพูดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจไขว้เขวไปจากความจริง จากการกล่าว การแสดงท่าทางที่คลาดเคลื่อนของตน เมื่อมีนิสัยเป็นคนพูดเท็จ ควรแก้ด้วยสัจจวาจา การเป็นผู้ชอบกล่าวแต่ความจริง
๘.ปาปิจฉา หมายถึง ความปรารถนาอันลามก คือ ความอยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตนในทางทีไม่ชอบธรรมด้วยการหลอกลวงต้มตุ๋นเขา หรือการล่อลวงผู้อื่น เพื่อให้ในสิ่งที่ตนต้องการ เมื่อมีความอยากได้ในทางที่ชั่วเกิดขึ้น แก้ด้วยความสันโดษ ยินดีในสิ่งที่ตนพึงมีพึงได้
๙.มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิด คือความเห็นที่ผิดไปจากคลองธรรม จากความเป็นจริง เป็นเหตุให้ปฏิเสธเรื่องบาปบุญคุณโทษ สามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง เมื่อเกิดความเห็นผิดขึ้น ควรแก้ด้วยสัมมาทิฎฐิ มีความเห็นถูกต้องตามคลองธรรม

วิชาธรรมวิภาค(อัฏฐกะ คือ หมวด ๘)

อัฏฐกะ คือ หมวด ๘
โลกธรรม ๘
ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น เรียกว่าโลกธรรม
โลกธรรมนั้นมี ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรเปลี่ยนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริงอย่าให้มันครอบงำจิตได คือ อย่ายินดีในส่วนที่น่าปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่น่าปรารถนา
โลกธรรม หมายถึง เรื่องที่เป็นธรรมดาของโลก เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลก ไม่มีใครสามารถหนีพ้นได้ ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ก็ตามจำต้องประสบด้วยกันทุกคน มี ๘ ประการ คือ
๑.มีลาภ
๒.เสื่อมลาภ
๓.มียศ
๔.เสื่อมยศ
๕.นินทา
๖.สรรเสริญ
๗.สุข
๘.ทุกข์
โลกธรรม แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑. อิฎฐารมณ์ อารมณ์ที่คนโดยทั่วไปต้องการ ได้แก่ มีลาภ มียศ สรรเสริญ และสุข. ๒. อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่คนโดยทั่วไปไม่ต้องการ ได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และ ทุกข์
หลักปฏิบัติเมื่อประสบกับโลกธรรมเหล่านี้ ต้องรู้จักทำใจให้หนักแน่น วางตนวางใจให้เป็นกลาง ไม่รู้สึกดีอกดีใจจนเกินไปเมื่อได้รับอิฏฐารมณ์ ไม่รู้สึกเศร้าเสียใจจนเกินไปเมื่อได้รับ อนิฏฐารมณ์ เมื่อรู้จักปรับสภาพใจได้เช่นนี้ ก็จะได้ไม่ต้องทุกข์มากเมื่อพลัดพรากจากของที่รักชอบใจหรือพบความผิดหวัง

ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ
ธรรมที่เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสอน ของพระพุทธเจ้าคือ
๑.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
๒.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความปราศจากทุกข์
๓.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส
๔.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย
๕.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของมีอยู่
๖.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่
๗.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเพียร
๘.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา

ธรรมที่ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสอน ของพระพุทธเจ้า คือ
๑.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ
๒.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์
๓.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความสละกองกิเลส
๔.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความอยากใหญ่
๕.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ คือ มีนี่แล้วอยากได้นั่น
๖.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๗.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
๘.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา

หลักติดสินพระธรรมวินัยนี้ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อวัตถุประสงค์ ๒ ข้อ คือ
๑.เพื่อเป็นเรื่องชี้ชัดถึงความถูกต้องของพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านั้นว่ามีลักษณะเป็นเช่นนี้ เมื่อมีการโต้แย้งกันขึ้นจักเป็นเครื่องชี้ขาดถึงความเห็นผิด หรือเห็นถูกได้อย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัย
๒.เพื่อเป็นเรื่องชี้ให้เห็นว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าเมื่อกล่าวถึงผลก็คือ เพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา และให้บรรลุถึงผลขั้นสูงสุด คือ พระนิพพาน

มรรคมีองค์ ๘
มรรคมีองค์ ๘ หมายถึง หนทางหรือแนววิธีปฏิบัติสำหรับดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ เป็นหนทางที่ทำให้ผู้ดำเนินตามเป็นพระอริยบุคคลได้
๑. สัมมาทิฏฐิ หมายถึง ความเห้นที่ถูกต้อง ปัญญาอันเห็นแจ้งในอริยสัจ คือ เห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค
๒. สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ความดำริอันถูกต้อง ได้แก่ความดำริในอันออกจากกาม. ในอันไม่พยาบาท.ในอันไม่เบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา หมายถึง วาจาที่ถูกต้อง ได้แก่การพูดจาที่เว้นจากวจีทุจริต ๔ คือ พูดเท็จ. พูดส่อเสียด. พูดคำหยาบ.พูดเพ้อเจ้อ
๔. สัมมากัมมันตะ หมายถึง การงานที่ถูกต้อง ได้แก่การงานที่เว้นจากกายทุจริต ๓ คือ ฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์,ประพฤติผิดในกาม
๕. สัมมาอาชีวะ หมายถึง การเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง ได้แก่เว้นจากการเลี้ยงชีวิตที่มีโทษทั้ง ๒ ฝ่าย คือ โทษทางโลก และ โทษทางพระบัญญัติ รู้ประมาณในการแสวงหา การรับ และ การบริโภค
๖. สัมมาวายามะ หมายถึง ความเพียรที่ถูกต้อง ได้แก่ความเพียรในสัมมัปปธาน ๔ คือ เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว, เพียรให้กุศลเกิดขึ้น,เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌานทั้ง ๔
ในองค์มรรคทั้ง ๘ นั้น เห็นชอบ ดำริชอบ สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา
วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ สงเคราะห์เข้าในสีลสิกขา
เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา

วิชาธรรมวิภาค(สัตตกะ คือ หมวด ๗)

สัตตกะ คือ หมวด ๗

อปริหานิยธรรม ๗ อย่าง
อปริหานิยธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว บุคคลหรือสังคมที่มีธรรมเหล่านี้เกื้อหนุนย่อมไม่พบกับความเสื่อม สามารถป้องกันภัยต่างๆได้
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
๔. เคารพผู้เป็นใหญ่เป็นประธาน คือ ผู้ที่มีความเคารพยำเกรงต่อผู้ใหญ่
๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น คือ ตัณหาความดิ้นรนอยากได้จนเกินขอบเขต
๖. ยินดีในเสนาสนะป่า การคลุกคลีกับหมู่คณะจนไม่รู้จักแบ่งเวลา ชื่อว่าเป็นผู้ผลาญประโยชน์ส่วนตน ส่วนผู้ชอบอยู่ในสถานที่สงบเงียบเป็นเหตุให้ได้ความสงบกาย สงบใจ
๗. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
ธรรม ๗ อย่างนี้ ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว

อริยทรัพย์ ๗
อริยทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อันประเสริฐ หรือทรัพย์ของพระอริยะ เป็นคุณธรรมที่ทำนุบำรุงจิตใจไม่ให้เคว้งคว้างเปล่าเปลี่ยว ดีกว่าทรัพย์สินเงินทองที่เป็นทรัพย์ภายนอก
๑. สัทธา หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
๒. สีล หมายถึง การรักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย
๓. หิริ หมายถึง ความละอายต่อบาปทุจริต
๔. โอตตัปปะ หมายถึง ความสะดุ้งกลัวต่อบาป
๕. พาหุสัจจะ หมายถึง ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมาก คือ จำทรงธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก
๖. จาคะ หมายถึง การสละให้ปันสิ่งของของตนให้แก่คนที่ควรให้ปัน
๗. ปัญญา หมายถึง รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์
อริยทรัพย์ ๗ จัดลงในสิกขา ๓ ได้ ๒ สิกขา คือ สีล หิริ โอตตัปปะ และ จาคะ จัดเป็น สีลสิกขา, สัทธา พาหุสัจจะ และปัญญา จัดเป็นปัญญาสิกขา

สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง
สัปปุริสธรรม หมายถึง ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ ผู้ดำรงตนอยู่ในคุณธรรมเหล่านี้ เป็นผู้มีคุณสมบัติของคนดี คนสงบที่เรียกกันว่า สัตบุรุษ
๑. ธัมมัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เหตุที่ควรรู้จะมีอยู่มากมายแต่เมื่อกล่าวโดยสรุปก็มีเพียง ๒ เหตุ คือ เหตุแห่งสุข เหตุแห่งทุกข์ ความสุขและความทุกข์ให้ผลต่างกันมาก จึงเป็นเหตุที่ควรรู้ไว้ว่า บุคคลทำสิ่งใดลงไป สิ่งนั้นเป็นได้ทั้งเหตุแห่งสุข หรือเหตุแห่งทุกข์
๒. อัตถัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักผล คือรู้ว่าผลที่ตนได้รับไม่ว่าจะดีหรือชั่ว เป็นสุขหรือทุกข์ เกิดขึ้นจากเหตุอะไร ถ้าได้รับผลที่ดีเป็นความสุข ก็ทำเหตุที่ทำให้ได้ดีมีสุขนั้นให้ดียิ่งขึ้น ถ้าเป็นผลข้างร้ายก็จะได้ตัดต้นเหตุเลิกทำในสิ่งที่เป็นเหตุแห่งผลร้ายนั้นเสีย
๓. อัตตัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักตน คือ รู้จักการวางตัวให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะ ฐานะของตนได้อย่างถูกต้องไม่อวดดื้อถือดีจนดูเป็นหยิ่งยโส ไม่ดูถูกตัวเองจนทำให้ขาดความมั่นใจ แต่รู้จักประมาณตัวเองไม่คิดเห่อเหิมทะเยอะทะยานเกินฐานะทำอะไรก็ไม่ทำเกินกำลังของตนอันเป็นเหตุให้เกิดความผิดหวัง
๔. มัตตัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือรู้จักความพอเหมาะพอดีไม่มากหรือน้อยเกินไปในทุกเรื่อง เช่น ในการแสดง การรับ และการใช้จ่าย ผู้รู้ประมาณกำลังของตัวจึงทำอะไรที่พอดี ๆ ไม่หักโหมจนเกินกำลังทั้งกายและทรัพย์รู้คุณค่าของสิ่งที่หามาได้ ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย แต่เป็นอยู่อย่างสุขสบายตามสมควรแก่ฐานะของตนโดยไม่เดือนร้อนอัตคัดขัดสน
๕. กาลัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักกาล คือรู้ถึงคุณค่าของเวลาที่ผ่านไป รู้จักใช้เวลาอย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างไร้ประโยชน์ ผู้รู้จักกาลจึงเป็นคนตรงต่อเวลาไม่อืดอาดล่าช้าในเวลาทำงาน เมื่อได้ตกปากรับคำก็ทำตามนั้นเสร็จทันตามกำหนด เป็นเหตุให้การวางไม่คั่งค้างเป็นดินพอกหางหมู
๖. ปริสัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้ชุมชน คือรู้จักสังคมที่ตนอยู่อาศัย ที่ทำงาน และสังคมที่ตนจะต้องเข้าไปติดต่อสัมพันธ์ว่าเป็นอย่างไร ผู้รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมชุมชนนั้นๆเป็นเหตุให้อยู่ในที่ไหนๆได้ด้วยความสบายใจไม่มีเรื่องกระทบกระทั่งกับผู้อื่น ได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชน
๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา หมายถึง ความรู้จักบุคคลผู้ยิ่งหรือหย่อน คือ การรู้จักเลือกคบคน ด้วยการศึกษาอุปนิสัยใจคอความประพฤติ เป็นต้น แล้วรู้จักที่จะเลือกว่าคนเช่นใดควรคบคนเช่นใดไม่ควรคบ เมื่อรู้จักเลือกเช่นนี้ทำให้ได้คบหาแต่คนดีไม่คบคนเลว ทำให้สามารถเลือกใช้คนทำงานได้ถูกต้อง
สัปปุริสธรรม เป็นธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตาม เป็นผู้ดีควรแก่การยกย่องนับถือ เป็นผู้ที่น่าคบหาสมาคมด้วย
อีกอย่างหนึ่ง(สัปปุริสธรรม ๗)
๑. สัตบุรุษประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ คือ มีศรัทธา มีความละอายต่อบาป มีความกลัวบาป เป็นคนได้ยินได้ฟังมาก เป็นคนมีความเพียร เป็นคนมีสติมั่นคง เป็นคนมีปัญญา
๒. จะปรึกษาสิ่งใดกับใครๆ ก็ไม่ปรึกษาเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น
๓. จะคิดสิ่งใดก็ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น
๔. จะพูดสิ่งใดก็พูดเพื่อไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น
๕. จะทำสิ่งใดก็ไม่ทำเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น
๖. มีความเห็นชอบ มีเห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
๗. ให้ทานโดยเคารพ คือเอื้อเฟื้อแก่ของที่ตัวเองให้ และผู้รับทานนั้น ไม่ทำอาการดุจทิ้งเสีย

โพชฌงค์ ๗
โพชฌงค์ หมายถึง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ธรรมที่เป็นองค์ประกอบสนับสนุนให้ตรัสรู้ ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นคุณธรรมที่ปลุกเร้าใจให้รู้ ให้ตื่น ให้เบิกบาน
๑. สติสัมโพชฌงค์ หมายถึง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ สติที่นึกถึงอารมณ์ในสติปัฏฐาน (กาย เวทนา จิต ธรรม) เป็นอารมณ์ การนึกถึงสิ่งที่เป็นอดีตที่ผ่านมาได้ การนึกถึงสิ่งที่เป็นปัจจุบัน สิ่งที่กำลังประสบอยู่เฉพาะหน้าได้ การนึกถึงอนาคตสิ่งที่จะพึงมีพึงเกิดในกาลข้างหน้าได้
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หมายถึง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ธัมมวิจยะ ความเป็นผู้ฉลาดในการเลือกเฟ้น คัดสรรธรรมทั้งที่เป็นฝ่ายดีและไม่ดี ให้รู้ให้เห็นว่าธรรมฝ่ายดีคือกุศลเป็นธรรมที่ควรรู้ควรเห็น ควรบำเพ็ญให้เกิดมีในตนยิ่งขึ้น ธรรมที่เป็นฝ่ายไม่ดีคืออกุศล เป็นธรรมที่ไม่ควรรู้ไม่ควรเห็น แต่ควรละทิ้งไม่ให้เกิดขึ้นมีขึ้นในใจ
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ หมายถึง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือวิริยะ ความเพียรพยายามประคองจิต ปลุกเร้าใจให้เป็นไปในการละธรรมฝ่ายไม่ดี ให้ปฏิบัติในธรรมฝ่ายดีตามที่ได้เลือกเฟ้นแล้ว ไม่ให้เกิดความท้อถอยในการละและการปฏิบัติกล่าวโดยรวมก็คือ เพียรระวัง เพียรละ เพียรให้เกิดมี และ เพียรรักษา ในสัมมัปปธาน ๔ นั่นเอง
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ หมายถึง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ อาการเอิบอิ่มแช่มชื่นของจิตที่ต่อเนื่องจากการละอกุศลธรรม ปฏิบัติแต่กุศลธรรม ตามที่ได้เพียรพยายามนั้นเกิดเป็นความสุขใจ พอใจกับการปฏิบัติของตน ส่งผลให้ร่างกายพลอยสดชื่นแจ่มใสไปด้วย เมื่อมีกายใจเป็นสุขเช่นนี้ ก็สามารถปฏิบัติธรรมชั้นสูงได้โดยง่าย
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ หมายถึง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ ความสงบใจและอารมณ์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากกายใจที่เกิดความเอิบอิ่มซาบซ่านเพราะการปฏิบัติธรรมของตน เป็นเหตุให้กายและใจสงบ เมื่อมีความสงบใจก็เป็นสมาธิได้เร็วขึ้น
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ หมายถึง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ เป็นความตั้งมั่นแห่งจิตที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากกายและใจที่สงบแล้ว จิตสามารถจดจ่ออยู่ในอารมณ์กัมมัฎฐานจนแน่วแน่ อยู่กับอารมณ์นั้น ๆ สามารถบรรลุฌานต่างๆ เป็นลำดับขึ้นไป เพื่อเป็นฐานแห่งวิปัสสนาญาณต่อไป
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ หมายถึง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ อุเบกขา เป็นความวางเฉยในเมื่อได้อัปปนาสมาธิที่เป็นปฐมฌาน แล้วพยายามำเพ็ญเพียรต่อไปจนได้ฌานที่ ๒-๓-๔ ในฌานที่ ๔ นี้มีเอกัคคตาจิต เป็นจิตที่แน่วแน่มีอารมณ์เป็นหนึ่งและนิ่งเฉย จิตที่นิ่งเฉยเป็นเอกัคคตานี้แหละคืออุเบกขาเรียกว่า “ญาณอุเบกขา” คือการเพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งแน่วแน่อยู่ด้วยความรู้ที่เกิดจากสมาธินั้น
โพชฌงค์ ๗ จัดลงในสิกขา ๓ ได้ ๒ สิกขา คือ สติ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ และ อุเบกขา เป็นจิตตสิกขา, ธัมมวิจยะ เป็นปัญญาสิกขา

วิชาธรรมวิภาค(ฉักกะ คือ หมวด ๖)

ฉักกะ คือ หมวด ๖

คารวะ ๖ อย่าง
คารวะ หมายถึง ความเคารพ ความนับถืออย่างหนักแน่น ความเอื้อเฟื้อด้วยกิริยาที่นอบน้อม เช่น การลุกรับ การคำนับ หรือการทำอภิวาท เป็นต้น รวมถึงการประพฤติมารยาทอย่างอื่นด้วยความตั้งใจ ไม่กระด้างการะเดื่อง
๑.พุทธคารวตา หมายถึง ความเคารพนับถือพระพุทธเจ้าด้วยการกราบไหว้บูชา ตั้งใจปฏิบัติตามคำสอน
๒.ธัมมคารวตา หมายถึง ความเคารพนับถือพระธรรมด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ที่เรียกว่า ปริยัติสัทธรรม
๓.สังฆคารวตา หมายถึง ความเคารพนับถือพระสงฆ์ด้วยการกราบไหว้ แสดงกิริยาที่นอบน้อมต่อท่าน
๔.สิกขาคารวตา หมายถึง ความเคารพเอื้อเฟื้อในการศึกษาด้วยกาตั้งใจใฝ่ศึกษา
๕.อัปปมาทคารวตา หมายถึง ความเคารพเอื้อเฟื้อในความไม่ประมาทด้วยการไม่เป็นผู้เลินเล่อเผลอสติ
๖.ปฏิสันภารคารวตา หมายถึง ความเคารพเอื้อเฟื้อในการทำปฏิสันถารด้วยการไม่ทำตนให้เป็นคนใจแคบ ต้อนรบผู้มาเยือนด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดีงาม
สาราณิยธรรม ๖ อย่าง
สาราณิยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน คือผู้ประพฤติธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นเหตุให้ระลึกถึงความดีที่ทำต่อกัน เป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่น และสมานความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะไว้ได้
๑. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายกิจธุระของเพื่อนกันด้วยกาย มีพยาบาลภิกษุไข้เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา
๒. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยวาจา เข่นกล่าวคำสั่งสอนเป็นต้น ด้วยจิตเมตตา
๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
๔. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรมให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคจำเพาะผู้เดียว
๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่นๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น
๖. มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่นๆ ไม่วิวาทกับใครๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน
ธรรม ๖ อย่างนี้ ทำผู้ประพฤติให้เป็นที่รักที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกัน เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

อายตนะภายใน ๖
อายตนะ หมายถึง ขบวนการเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ขึ้นที่เรียกว่า “อายตนะภายใน”เพราะเป็นสื่อเชื่อมต่อที่มีอยู่ในตัวคนใช้เชื่อมต่อกับอายตนะภายนอก
๑.ตา หมายถึง ประสาทที่ใช้สำหรับการดูรูป เรียกว่า จักขุประสาท
๒.หู หมายถึง ประสาทที่ใช้สำหรับฟังเสียง เรียกว่า โสตประสาท
๓.จมูก หมายถึง ประสาทที่ใช้สำหรับดมกลิ่น เรียกว่า ฆานประสาท
๔.ลิ้น หมายถึง ประสาทที่ใช้สำหรับลิ้มรส เรียกว่า ชิวหาประสาท
๕.กาย หมายถึง ประสาทที่ใช้รับรู้ถึงสิ่งที่มาถูกต้อง เรียกว่า กายประสาท
๖.ใจ หมายถึง ธาตุที่ใช้รับรู้เรื่องราวต่างๆ เรียกว่า มโนธาตุ
ทั้ง ๖ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อินทรีย์” เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน เช่น ตาเป็นใหญ่ในการเห็นรูป เป็นต้นจะใช้ผิดหน้าที่ไม่ได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง “ทวาร” เพราะเป็นประตูสำหรับรับอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาทาง ตา หู เป็นต้น

อายตนะภายนอก ๖
อายตนะภายนอก หมายถึง สิ่งที่ถูกรับรู้หรือสัมผัสได้ด้วยอายตนะภายในทั้ง ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
๑.รูป หมายถึง สิ่งที่สามารถเห็นได้ด้วยตา
๒.เสียง หมายถึง สิ่งที่สามารถได้ยินด้วยหู
๓.กลิ่น หมายถึง สิ่งที่สามารถสูดดมได้ด้วยจมูก
๔.รส หมายถึง สิ่งที่สามารถลิ้มรสได้ด้วยลิ้น
๕.โผฏฐัพพะ หมายถึง สิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย
๖.ธรรมารมณ์ หมายถึง สิ่งที่สามารถรู้สึกได้ทางใจ
ทั้ง ๖ นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อารมณ์”เพราะเป็นธรรมชาติเหนี่ยวรั้งจิตให้ติดอยู่ในสิ่งที่ยินดี อายตนะภายในกับอายตนะภายนอก เป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกันเป็นคู่ๆ ไป เช่น ตา+รูป หู+เสียง เป็นต้น
วิญญาณ ๖
วิญญาณ หมายถึง ความรู้แจ้ง เป็นธาตุรู้และระบบการรู้ของจิตหลังจากที่ได้สัมผัสกับอารมณ์หรือสิ่งที่มากระทบเป็นระบบการรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัส
รู้ทางตาเพราะรูปมากระทบ เรียกว่า จักขุวิญญาณ
รู้ทางหูเพราะเสียงกระทบ เรียกว่า โสตวิญญาณ
รู้ทางจมูกเพราะกลิ่นมากระทบ เรียกว่า ฆานวิญญาณ
รู้ทางลิ้นเพราะรสมากระทบ เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
รู้ทางกายเพราะโผฏฐัพพะ(อารมณ์ที่ถูกต้องทางกาย) มากระทบ เรียกว่า กายวิญญาณ
รู้ทางใจ เพราะอารมณ์ที่เกิดกับใจมากระทบ เรียกว่า มโนวิญญาณ

สัมผัส ๖
สัมผัส หมายถึง การถูกต้องกัน การกระทบกันระหว่าง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เรียกชื่อตามสิ่งที่มากระทบอายตนะภายใน
ตา + รูป + จักขุวิญญาณ = จักขุสัมผัส
หู + เสียง + โสตวิญญาณ = โสตสัมผัส
จมูก + กลิ่น + ฆานวิญญาณ = ฆานสัมผัส
สิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ = ชิวหาสัมผัส
กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ = กายสัมผัส
ใจ + ธรรมารมณ์ +มโนวิญญาณ = มโนสัมผัส
เวทนา ๖
เวทนา หมายถึง การเสวยอารมณ์ คือ การรับรู้อารมณ์ที่มากระทบนั้น แล้วก็รู้ตามปัจจัยที่มากระทบ ถ้าปัจจัยดีก็เป็นสุข ไม่ดีก็เป็นทุกข์ ไม่ดีไม่ชั่วก็รู้สึกเฉยไม่เป็นสุขหรือทุกข์
ความรู้สึกอารมณ์อันมากระทบ ทางตา เรียกว่า จักขุสัมผัสสชาเวทนา
ความรู้สึกอารมณ์อันมากระทบ ทางหู เรียกว่า โสตสัมผัสสชาเวทนา
ความรู้สึกอารมณ์อันมากระทบ ทางจมูก เรียกว่า ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ความรู้สึกอารมณ์อันมากระทบ ทางลิ้น เรียกว่า ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
ความรู้สึกอารมณ์อันมากระบท ทางกาย เรียกว่า กายสัมผัสสชาเวทนา
ความรู้สึกอารมณ์อันมากระทบ ทางใจ เรียกว่า มโนสัมผัสสชาเวทนา

ธาตุ ๖
ธาตุ หมายถึง สิ่งที่ทรงสภาพเดิมของตนไว้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพอีกต่อไป
๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม
๕. อากาสธาตุ คือ ช่องว่างมีในกาย
๖. วิญญาณธาตุ คือ ความรู้อะไรก็ได้

วิชาธรรมวิภาค(ปัญจกะ คือ หมวด ๕)

ปัญจกะ คือ หมวด ๕

อนันตริยกรรม ๕
อนันตริยกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลไม่มีระหว่างคั่นเป็นกรรมที่ส่งผลทันทีในเวลาเมื่อผู้กระทำกรรม ๕ อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่งตายลง ไม่มีกรรมอื่นมาให้ผลคั่นกลาง จัดเป็น ครุกรรม คือ เป็นกรรมหนักไม่มีกรรอื่นมาให้ผลมากกว่า
๑. มาตุฆาต คือ การฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต คือ การฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต คือ การฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท คือ การทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
๕. สังฆเภท คือ การยังสงฆ์ให้แตกจากกัน
กรรม ๕ อย่างนี้ เป็นบาปอันหนักที่สุดห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้ถือพระพุทธศาสนา ห้ามไม่ให้ทำเป็นเด็ดขาด

อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕
อภิณหปัจจเวกขณ์ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆวัน คือ
๑. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว

เวสารัชชกรณธรรม ๕ อย่าง
เวสารัชชกรณธรรม หมายถึง ธรรมที่ทำความกล้าหาญธรรมเป็นเหตุให้เกิดความแกล้วกล้า บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นผู้องอาจแกล้วกล้าไม่หวั่นไหวในการเข้าสู่สมาคมต่างๆ
๑. สัทธา หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล
๒. สีล หมายถึง ความเป็นปกติ ความสงบเย็น รักษากายวาจาให้เรียกร้อย
๓. พาหุสัจจะ หมายถึง ความเป็นผู้ศึกษามาก มีความรู้มีประสบการณ์มาก
๔. วิริยารัมภะ หมายถึง การปรารภความเพียร ลงมือทำกิจด้วยความเข้มแข็ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค์ที่เกิดขึ้น
๕. ปัญญา หมายถึง รอบรู้สิ่งที่ควรรู้ รู้ทั่วถึงเหตุและผล ถึงสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ

องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ อย่าง
๑. สำรวมในพระปาติโมกข์ คือ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต
๒. สำรวมอินทรีย์ คือ ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไม่ยินดียินร้ายในเวลาที่เห็นรูปด้วยนัยน์ตาเป็นต้น
๓. ความเป็นคนไม่เอิกเกริกเฮฮา คือ ไม่เป็นผู้คึกคะนองสรวลเสเฮฮา
๔. อยู่ในเสนาเสนะอันสงัด คือสถานที่อันสงบเงียบปราศจากสิ่งรบกวน
๕. มีความเห็นชอบ คือ มีความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
ภิกษุใหม่ควรตั้งอยู่ในธรรม ๕ อย่างนี้

องค์แห่งธรรมกถึก คือ นักเทศก์ ๕ อย่าง
๑. แสดงธรรมโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ
๒. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ
๓. ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือว่า ไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น
ภิกษุผู้ได้ธรรมกถึก พึงตั้งองค์ ๕ อย่างนี้ไว้ในตน
ธัมมัสสวนานิสงส์ ๕ อย่าง
ธัมมัสสวนานิสงส์ หมายถึง อานิสงส์ของการฟังธรรมผลดีที่เกิดแต่การฟังธรรมมี ๕ ประการ
๑. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัดย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
การฟ้งธรรมที่จะได้ผลเป้นความรู้อย่างเต็มที่ ผู้ฟังต้องตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ มีสติพิจารณาไปตามกระแสแห่งธรรมที่ท่านแสดง ดังมีพุทธดำรัสรับรองว่า “สุสสูสัง ละภะเต ปัญญัง” ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา

พละ ๕ อย่าง
พละ หมายถึง กำลัง ธรรมทั้ง ๕ ที่ได้ชื่อว่า พละเพราะเมื่อใจได้ธรรมทั้ง ๕ นี้เป็นกำลังแล้ว ย่อมเข้มแข็งในการทำความดีตามที่ตนปราถนา
๑. สัทธา หมายถึง ความเชื่อ
๒. วิริยะ หมายถึง ความเพียร
๓. สติ หมายถึง ความระลึกได้
๔. สมาธิ หมายถึง ความตั้งใจมั่น
๕. ปัญญา หมายถึง ความรอบรู้
อินทรีย์ ๕ ก็เรียก เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน
นิวรณ์ ๕
นิวรณ์ หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต
๑. กามฉันท์ หมายถึง ความพอใจรักใคร่ในกามคุณ ๕ มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ คนผู้มีกามฉันท์เป็นเจ้าเรือนมักรักสวยรักงาม แก้ด้วยการเจริญอสุภกัมมัฎฐานพิจารณาซากศพ หรือ เจริญกายคตาสติ พิจารณาร่างกายที่มีชีวิตอยู่ให้เห็นเป็นของน่าเกลียด
๒. พยาบาท หมายถึง ความโกรธจัดด้วยกำลังโทสะอย่างแรง คิดจองล้างจองผลาญผู้อื่น คนผู้มีพยาบาทเป็นเจ้าเรือน มักโกรธง่ายโมโหร้าย แก้ด้วยการแผ่พรหมวิหารธรรม ๓ ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อบรมจิตให้กลับคิดไปในทางให้เกิดความรักสงสาร และพลอยยินดีต่อผู้อื่น
๓. ถีนมิทธะ หมายถึง ความหดหู่ท้อแท้ และเคลิบเคลิ้มเศร้าซึมแห่งจิต คนผู้มีถีนมิทธะเป็นเจ้าเรือน มักย่อท้อในกิจการงานที่ต้องทำ แก้ด้วยการเจริญอนุสสติกัมมัฏฐาน พิจารณาความดีของตนหรือคุณของพระรัตนตรัย เป็นต้น เพื่อให้ใจเกิดความมานะบากบั่นอดทนต่อการทำกิจ
๔. อุทธัจจกุกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน อึดอัด กลัดกลุ้ม วิตกกังวล และความรำคาญใจ ทำให้ใจไม่อยู่เป็นปกติ คนผู้มี อุทธัจจกุกุจจะ เป็นเจ้าเรือน มักมีจิตใจไม่มั่นคงแก้ด้วยการเพ่งกสิณเพื่อให้ใจแน่วแน่ในอารมณ์อันเดียว หรือเจริญมรณัสสติกัมมัฏฐานเพื่อให้ใจเกิดธรรมสังเวช
๕. วิจิกิจฉา หมายถึง ความลังเลสงสัยติดสินใจไม่ได้ คนผู้มีวิจิจกิจฉาเป็นเจ้าเรือน แก้ด้วยการเจริญธาตุกัมมัฏฐาน หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อกำหนดรู้เท่าทันสภาวธรรมตามที่เป็นอยู่
ขันธ์ ๕
ขันธ์ แปลว่า กอง ใช้หมายถึงร่างกายของมนุษย์ เมื่อแยกร่างกายออกเป็นกองๆ ได้เป็น ๕ กอง คือ
๑.รูป หมายถึง ส่วนที่ผสมกันของธาตุ ๕ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม รวมเข้าเป็นกาย. รูปในขันธ์ ๕ หมายถึงรูปที่มีใจครองที่เรียกว่า อุปาทินนกสังขาร ต่างจากรูปในอายตนะภายนอก หมายเอารูปที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา
๒.เวทนา หมายถึง ระบบที่รับคือรู้สึกอารมณ์ของสิ่งที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดความรู้สึกที่เป็นสุข ชอบใจ เป็นทุกข์ ไม่ชอบใจ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ มีอาการเฉยๆ
๓.สัญญา หมายถึง ระบบจำสิ่งที่รับรู้นั้นไว้ได้
๔.สังขาร หมายถึง ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้และจำได้นั้นไม่ว่าจะดี จะชั่ว หรือเป็นกลางๆ ซึ่งแตกต่างจากสังขารในไตรลักษณ์ที่หมายเอาสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทั้งที่เป็นอุปาทินนกสังขาร และอนุปาทินนกสังขาร
๕.วิญญาณ หมายถึง ระบบรู้ของจิตต่อสิ่งที่มากระทบรู้ถึงสิ่งที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น มีรูปมากระทบทางตา ก็รู้ว่าเป็นรูปอะไร เป็นต้น

วิชาธรรมวิภาค(จตุกกะ คือ หมวด ๔)

จตุกกะ คือ หมวด ๔

วุฑฒิ คือธรรมเป็นเครื่องเจริญ ๔ อย่าง

๑.  สัปปุริสสังเสวะ หมายถึง การคบหากับสัตบุรุษ คือ การฝากตัวยอมมอบตัวเป็นศิษย์ การติดต่อไปมาหาสู่ทำความสนิทชิดเชื้อคุ้นเคย การประพฤติตามอย่างท่านหรือการสนทนาไต่ถามท่านด้วยความตั้งใจใฝ่รู้จริงๆ เรียกว่า คบสัตบุรุษ
๒.  สัทธัมมัสสวนะ หมายถึง การตั้งใจฟังคำสั่งสอนของสัตบุรุษที่คบหาด้วยความเคารพตั้งใจ คือ ตั้งใจฟัง ตั้งใจที่จะจดจำเพื่อนำไปปฏิบัติตาม ประการสำคัญต้องมีความเคารพนอบน้อมต่อท่านด้วย
๓.  โยนิโสมนสิการ หมายถึง เมื่อกำหนดจดจำได้แล้วก็นำมาไตร่ตรอง พิจารณาถึงเหตุผลว่าที่ท่านสอนเช่นนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร สิ่งไหนดีสิ่งไหนชั่ว สิ่งไหนตัวเราสามารถทำได้ในทันที หรือต้องรอจังหวะโอกาสที่เหมาะสมกว่านี้ และเมื่อทำตามที่ท่านสอนแล้วจะมีผลอย่างไร เป็นต้น
๔.  ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง เมื่อได้คบ ได้ฟัง คำสอน และได้พิจารณาไตร่ตรองคำสอนนั้นถี่ถ้วนจนแน่ใจว่า ตนสามารถปฏิบัติตามนั้นได้ ก็ตั้งใจปฏิบัติให้เต็มที่ตามคำสอนของท่าน ไม่ละทิ้งเสียเมื่อต้องเจอกับอุปสรรค เป็นต้น

จักร ๔

๑.  ปฏิรูปเทสวาสะ หมายถึง การอยู่ในประเทศอันสมควร อยู่ในถิ่นที่มีคนดี เหมาะแก่การศึกษาหาความรู้ สะดวกแก่การประกอบอาชีพ เหมาะกับความเป็นอยู่ของตน มีสิ่งแวดล้อมดีมีความอุดมสมบูรณ์
๒.  สัปปุริสูปัสสยะ หมายถึง การคบหาคนดี ทำความคุ้ยเคย เข้าไปหาฟังคำแนะนำ และสอบถามสิ่งที่ตนยังไม่รู้หรือเข้าใจไม่แจ่มแจ้งจากท่านผู้เป็นสัตบุรุษ
๓.  อัตตสัมมาปณิธิ หมายถึง การตั้งตนทั้งส่วนกายและใจไว้ในทางที่ชอบ ส่วนกายด้วยการทำตัวให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะและหน้าที่ รวมถึงการรู้จักวางตัวและประมาณตัว ส่วนใจด้วยการตั้งจิตไว้ในศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิต และปฏิบัติตามเป้าหมายนั้นโดยหนทางสุจริต
๔.  ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง บุญหรือความดีที่ได้เคยทำไว้ในอดีต ที่เป็นชาติก่อนๆบ้าง หรือในครั้งที่ผ่านมาในชีวิตนี้บ้าง บุญหรือความดีที่เคยทำไว้ในชาติก่อนหรือที่แล้วมาในชาตินี้จะส่งผลให้เกิด เป็นความสุข ความเจริญในปัจจุบัน หรือในอนาคตแก่ผู้ทำบุญไว้

ธรรม ๔ อย่างนี้ เรียกว่า จักรธรรม เพราะเป็นธรรมที่นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ความมั่นมีศรีสุข และนำให้ถึงจุดหมายดุจล้อที่นำพาหนะ เช่น รถหรือเกวียนไปถึงจุดหมาย

อคติ ๔

๑.  ฉันทาคติ หมายถึง ความลำเอียงเข้าข้างโดยถือเอาความรักใคร่พอใจของตนเป็นที่ตั้ง จะทำให้เสียความยุติธรรม เพราะเห็นแก่หน้าคนที่ตนรัก เช่น ยกย่องแต่คนสนิท คนใกล้ชิด แม้ไม่สมควรได้รับการยกย่อง เป็นต้น
๒.  โทสาคติ หมายถึง ความลำเอียงเข้าข้างโดยถือเอาความไม่ชอบใจไม่พอใจของตนเป็นที่ตั้ง จะทำให้เสียความยุติธรรมเพราะลุแก่อำนาจความเกลียดชัง ทำให้มีการกลั่นแกล้งและทำลายกันเกิดขึ้น เช่น กีดกันคนที่ตนไม่ชอบไว้ไม่ให้ก้าวหน้าตามที่ควรจะได้ เป็นต้น
๓.  โมหาคติ หมายถึง ความลำเอียงเข้าข้างเพราะความหลง จะทำให้เสียความยุติธรรมเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นคนเชื่อง่าย หูเบา ไม่มีความรอบคอบ เช่น ด่วนตัดสินลงโทษผู้น้อยก่อนพิจารณาให้ถี่ถ้วน เป็นต้น
๔.  ภยาคติ หมายถึง ความลำเอียงเข้าข้างเพราะกลัวหรือเกรงใจ จะทำให้เสียความยุติธรรมเพราะความโลเลไม่มั่นคงไม่เป็นตัวของตัวเอง ตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่น เช่น ไม่กล้าลงโทษผู้ทำผิด เพราะเป็นลูกหลานของผู้มีอำนาจมีอิทธิพล เป็นต้น
อคติ ๔ ประการนี้ เมื่อกระทำเข้าแม้ข้อใดข้อหนึ่ง ก็เป็นเหตุให้เสียความยุติธรรม เสียความเป็นผู้ใหญ่ทั้งสิ้น

อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

๑.  ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ต้องเป็นผู้มีความอดทนต่อการเล่าเรียนและการปฏิบัติ ไม่เกียจคร้าน ไม่เบื่อหน่ายต่อคำสั่งสอนของอุปัชฌาย์อาจารย์ ถ้าอดทนไม่ได้ก็ต้องประสบอันตรายอันเป็นเครื่องทำลายความเจริญของตน
๒.  ภิกษุสามเณร เลี้ยงชีวิตด้วยอาหารบิณฑบาตที่ญาติโยมถวาย บางครั้งได้อาหารที่ถูกปากบ้าง ไม่ถูกปากบ้างได้มากเป็นบางคราบางเวลาก็ขาดแคลน ถึงอย่างนั้นก็ต้องอดทน ด้วยการพิจารณาว่า ฉันอาหารเพียงเพื่อให้ชีวิตเป็นอยู่เพื่อปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่ได้ฉันเพราะเห็นแก่ปากท้อง ถ้าอดทนต่อความอดอยากไม่ได้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า
๓.  ภิกษุสามเณร ถ้ายังมัวเพลิดเพลินระเริงหลงอยู่ในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นอันตรายต่อการเล่าเรียนและปฏิบัติ ย่อมห่างจากความเจริญในเพศบรรพชิต ผู้หวังความเจริญจึงควรพิจารณาให้เห็นโทษของกามคุณ จึงจะประสบผลสำเร็จของการบวช ถ้าอดทนต่อความยั่วยวนไม่ได้ ใจย่อมกระสับกระส่ายไม่เป็นอันประกอบคุณความดี
๔.  ภิกษุสามเณร เมื่อยังมีเรื่องรักๆ ใคร่ๆ กับผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ทำให้การทำธุระในพระศาสนาทั้ง ๒ ส่วน คือ การศึกษาปริยัติธรรม และการปฏิบัติย่อมเสื่อมเสียหมดเพราะธรรมชาติของหญิง เป็นข้าศึกเป็นมลทินแก่พรหมจรรย์โดยตรง ดังนั้น จำต้องตัดความอาลัยรักใคร่ อันประกอบด้วยราคะในหญิงให้สิ้นเชิง ถ้าอดทนไม่ได้อาจทำให้เป็นผู้พ่ายแพ้ในพระศาสนา
ภิกษุสามเณรผู้หวังความเจริญแก่ตน ควรระวังอย่าให้อันตราย ๔ อย่างนี้ย่ำยีได้

ปธาน คือความเพียร ๔ อย่าง 

๑.  สังวรปธาน หมายถึง ความเพียรที่ตั้งไว้เพื่อสำรวมระวังไม่ให้ความชั่วที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด มีในตน เพียรระวังป้องกันตัวป้องกันใจไม่ให้หลงไหลคิดไปในทางที่ชั่ว จนถลำตัวลงไปเกลือกกลั้วกับความชั่วความผิดนั้น การเพียรระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้นได้ดีที่สุดคือ การสำรวมระวังอินทรีย์ ๖
๒.  ปหานปธาน หมายถึง ความเพียรที่ตั้งไว้เพื่อละบาปอกุศลที่เกิดมีขึ้นแล้ว ไม่ให้ฝังแน่นอยู่ในจิตใจ ละการทำสิ่งที่ไม่ดี พยายามกำจัดการทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่วให้หมดไปจากกมลสันดาน รวมถึงความเพียรพยายามที่จะละอกุศลวิตก ๓ คือ นึกคิดถึงแต่เรื่องกามคุณ การพยาบาท และการเบียดเบียน
๓.  ภาวนาปธาน หมายถึง ความเพียรที่ตั้งไว้เพื่อทำให้บุญกุศล สิ่งที่เป็นความดีความชอบ ที่ยังไม่มี ไม่เป็น ให้เกิดขึ้นให้มีขึ้นในตน หรือเพียรเพิ่มพูนบุญกุศลความดีที่มีอยู่แล้ว ให้มียิ่งๆขึ้นไป
๔.  อนุรักขนาปธาน  หมายถึง ความเพียรที่ตั้งไว้เพื่อตามรักษาบุญกุศลหรือความดีงามที่มีอยู่แล้วในตนไม่ ให้เสื่อมไปเพียรประคับประคองความดีงามนั้น ให้ตั้งมั่นในจิตใจตลอดไป
ความเพียร ๔ อย่างนี้ เป็นความเพียรชอบควรประกอบให้มีในตน

อธิษฐานธรรม คือธรรมที่ความตั้งไว้ในใจ ๔ อย่าง

๑.  ปัญญา หมายถึง รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
๒.  สัจจะ หมายถึง ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
๓.  จาคะ หมายถึง สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
๔.  อุปสมะ หมายถึง สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ

อิทธิบาท คือคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง

๑.  ฉันทะ หมายถึง พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒.  วิริยะ หมายถึง เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓.  จิตตะ หมายถึง เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่วางธุระ
๔.  วิมังสา หมายถึง หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
คุณ ๔ อย่างนี้ มีบริบูรณ์แล้ว อาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์ซึ่งไม่เหลือวิสัย

ควรทำความไม่ประมาทในที่ ๔ สถาน

๑.  ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต
๒.  ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต
๓.  ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต
๔.  ในการละความเห็นผิด ทำความเห็นให้ถูก

อีกอย่างหนึ่ง

๑.  ระวังใจไม่ให้กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
๒.  ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
๓.  ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
๔.  ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา

ปาริสุทธิศึล ๔

๑.  ปาติโมกขสังวร หมายถึง สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำข้อที่พระองค์อนุญาต
๒.  อินทรียสังวร  หมายถึง สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
๓.  อาชีวปาริสุทธิ หมายถึง เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่หลองลวงเขาเลี้ยงชีวิต
๔.  ปัจจยปัจจเวกขณะ หมายถึง พิจารณาเสียก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา

อารักขกัมมัฏฐาน

๑.  พุทธานุสติ หมายถึง การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ที่มีในพระองค์และทรงเกื้อกูลแก้ผู้อื่น
๒.  เมตตา หมายถึง การแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
๓.  อสุภะ หมายถึง การพิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม
๔.  มรณัสสติ หมายถึง นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่พ้นความตายไปได้
กัมมัฏฐาน ๔ อย่างนี้ ควรเจริญเป็นนิตย์
 
พรหมวิหาร ๔

๑.  เมตตา หมายถึง ความรักที่ไม่เจือด้วยความรักใคร่ทางกาม แต่เป็นความรู้สึกที่ปรารถนาดีหวังดีต่อผู้อื่น ปราศจากความรู้สึกเห็นแก่ตัว ความลำเอียง ความเกลียดชัง เป็นความรัก ที่มุ่งไมตรีจิต มุ่งความสุขความเจริญต่อผู้อื่น เมตตานี้ มีลักษณะคิดนำความสุขไปให้เขาโดยส่วนเดียว เป็นการแผ่ไปโดยเจาะจงตัวบุคคลผู้รับ เรียกว่า “โอทิสสผรณา” มีคุณสมบัติขจัดความคิดปองร้ายผู้อื่นได้ ควรเจริญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
๒.  กรุณา หมายถึง ความรู้สึกสงสารมีความหวั่นใจจนทนไม่ได้ที่จะวางเฉย ในเมื่อประสบพบผู้อื่นได้รับความลำบากเป็นความรู้สึกเห็นใจ พลอยวิตกกังวลไปด้วย เป็นเหตุให้คิดหาหนทางช่วยเหลือ เพื่อให้เขาพ้นจากความลำบากทุกข์ยากนั้นกรุณานี้ มีลักษณะคิดขจัดทุกข์บำรุงสุขให้เขาส่วนเดียว มีคุณสมบัติขจัดความคิดเบียดเบียนผู้อื่นได้ ควรเจริญเมื่อเขาประสบความลำบาก
๓.  มุทิตา หมายถึง ความรู้สึกชื่นชมยินดี พลอยดีใจไปกับเขาด้วย เมื่อผู้อื่นได้ดี ได้รับผลสำเร็จ ไม่อิจฉาตาร้อนในสิ่งที่เขาได้รับ แต่เป็นความรู้สึกที่มีน้ำใจตอบ มุทิตานี้ มีลักษณะพลอยอนุโมทนาต่อเขาส่วนเดียว มีคุณสมบัติขจัดความไม่ยินดีต่อผู้อื่นได้ ควรเจริญเวลาเมื่อเขาประสบความสำเร็จ
๔.  อุเบกขา หมายถึง ความรู้สึกวางเฉย วางตัววางใจเป็นกลางไม่เอนเอียงเข้าข้าง เป็นความรู้สึกปราศจากความคิดสมน้ำหน้าหรือคิดซ้ำเติม เมื่อเห็นคนที่ตนเกลียดชังประสบความวิบัติ หรือเมื่อเห็นคนที่ตนรักใคร่ชอบพอประสบภัยความวิบัติโดยที่ไม่อาจช่วยเหลือ ได้ อุเบกขานี้ มีลักษณะวางเฉยทำใจให้เป็นกลางในทุกคนทุกเหล่าสัตว์ มีคุณสมบัติขจัดความกระบทกระทั่งใจต่อผู้อื่นได้ ควรเจริญเวลาเมื่อเขาประสบความทุกข์เดือนร้อน
๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่

สติปัฏฐาน ๔

สติปัฎฐาน หมายถึง ธรรมอันเป็นที่ตั้งของสติ เป็นวิธีบำเพ็ญกัมมัฎฐานที่อาศัยสติ พิจารณาที่ตั้งแห่งอารมณ์ ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
๑.  กายานุปัสสนา   หมายถึง สติที่ตามกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์ “กาย” ในที่นี้ได้แก่ สรีกายทั้งที่มีชีวิตและตายแล้ว ลมหายใจเข้าออก อิริยาบถ อวัยวะ และธาตุ ๔ มีสติกำหนดพิจารณาอยู่ที่กายอย่างใดอย่างหนึ่งจนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ พิจารณาดูต่อไปจนเกิดปัญญาเห็นกายทั้งภายในภายนอก ทั้งกำลังเกิดและกำลังดับ ทั้งที่ส่วนที่ชอบและไม่ชอบ จนคลายความยึดมั่นถือมั่นในกายได้ มีสติเห็นชัดในกายว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
๒.  เวทนานุปัสสนา หมายถึง สติที่ตามกำหนดพิจารณาเวทนาเป็นอารมณ์ “เวทนา” ในที่นี้ได้แก่ ความสุข ความทุกข์ หรือความไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดจากการถูกต้องกันของอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก มีสติกำหนดพิจารณาอยู่ที่เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ พิจารณาดูต่อไปจนเกิดปัญญาเห็นเวทนาทั้งภายในภายนอก ทั้งที่กำลังเกิดและกำลังดับ ทั้งส่วนที่ชอบและไม่ขอบจนคลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาได้ มีสติเห็นชัดในเวทนาว่า เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
๓.  จิตตานุปัสสนา  หมายถึง สติที่ตามกำหนดพิจารณาจิตเป็นอารมณ์ “จิต” ในที่นี้ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ที่เกิดขึ้น มีสิตพิจารณากำหนดจิตให้รู้อารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในเวลานั้นว่าเป็นอย่างไร จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ พิจารณาดูต่อไปจนเกิดปัญญาเห็นจิตทั้งภายในภายนอก ทั้งที่กำลังเกิดและกำลังดับ ทั้งส่วนที่ชอบและไม่ชอบ จนคลายความยึดมั่นถือมั่นในจิตได้ มีสติเห็นชัดในจิตว่า จิตนี้ก็สักว่าจิต ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
๔.  ธัมมานุปัสสนา หมายถึง สติที่ตามกำหนดพิจารณาธรรมเป็นอารมณ์ “ธรรม” ในที่นี้ได้แก่ ธรรมที่สามารถกำหนดรู้ด้วยจิตได้ ทั้งธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล เช่น อริยสัจ ๔ ขันธ์ ๕ นิวรณ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น มีสติพิจารณากำหนดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ พิจารณาดูต่อไปจนเกิดปัญญาเห็นธรรมทั้งภายในภายนอก ทั้งที่กำลังเกิดและกำลังดับ ทั้งส่วนที่ชอบและไม่ชอบ จนคลายความยึดมั่นถือมั่นในธรรมได้ มีสติเห็นชัดในธรรมว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
ผู้จะเจริญสติปัฎฐานให้ได้ผล ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๓ อย่าง คือ
๑.อาตาปี มีความเพียรเครืองเผาผลาญกิเลส
๒.สัมปชาโน กำหนดรู้อยู่เสมอ
๓.สติมา มีสติระลึกรู้ทุกขณะจิต

ธาตุกัมมัฏฐาน ๔

ธาตุ ๔ คือ
ธาตุดิน เรียก ปฐวีธาตุ
ธาตุน้ำ เรียก อาโปธาตุ
ธาตุไฟ เรียก เตโชธาตุ
ธาตุลม เรียก วาโยธาตุ
ธาตุอันใดมีลักษณะแข้นแข็ง ธาตุนั้นเป็นปฐวีธาตุ ปฐวีธาตุนั้นที่เป็นภายใน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
ธาตุอันมีลักษณะเอิบอาบ ธาตุนั้นเป็นอาโปธาตุ อาโปธาตุนั้น ที่เป็นภายใน คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ธาตุอันมีลักษณะร้อน ธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุ เตโชธาตุนั้น ที่เป็นภายใน คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่เผาอาหารให้ย่อย
ธาตุอันใดมีลักษณะพัดไปมา ธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุ วาโยธาตุนั้น ที่เป็นภายใน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ
ความกำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน

อริยสัจ ๔

อริยสัจ หมายถึง ความจริงอย่างประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ ความจริงที่ไปจากข้าศึก คือ กิเลส ความจริงที่ทำปุถุชนเป็นอริยะ
๑.  ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกายไม่สบายใจ แบ่งออกเป็นได้ ๒ ประเภท คือ สภาวทุกข์ ทุกประจำ ทุกข์ที่มีอยู่ด้วยกันทุกคนไม่มีข้อยกเว้น ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ปกิณณกทุกข์ ทุกข์จร ทุกข์ที่จรมาเป็นครั้งคราว ได้แก่ความเศร้าโศก ความพร่ำเพ้อรำพัน ความเจ็บป่วย ความน้อยใจ ความคับแค้นใจ ความประสบสิ่งที่ไม่ขอบใจ ความพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบใจ ความผิดหวังไม่ได้ตามที่ต้องการ
๒.  สมุทัย หมายถึง เหตุเกิดแห่งทุกข์ สิ่งที่ทำให้ทุกข์เกิดคือตัณหา มี ๓ ประเภท คือ กามตัณหา ความอยากได้ อารมณ์หรือสิ่งที่น่าใคร่น่าชอบใจ ภวตัณหา ความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ความอยากจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ วิภาวตัณหา ความอยากให้อารมณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าใคร่ไม่น่าชอบใจวิบัติสูญหาย
๓.  นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์ ทุกข์จะดับได้ก็ต้องดับความดิ้นรนเพื่อจะได้ เพื่อจะมี เพื่อจะเป็นของใจเสียก่อน เมื่อใจไม่มีความดิ้นรนอยากได้ที่เรียกว่า ตัณหา ทุกข์ก็ดับไปหมด นิโรธ ก็คือพระนิพพาน แต่นิโรธเป็นผลของการดับตัณหาไม่ใช่ข้อปฏิบัติที่ใช้ในการดับ
๔.  มรรค หมายถึง ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้ถึงความดับทุกข์ เป็นวิธีปฏิบัติที่ประเสริฐที่ทำให้ผู้ดำเนินตามเป็นพระอริยบุคคลได้ มี ๘ ประการ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง๑ ความดำริที่ถูกต้อง๑ วาจาที่ถูกต้อง๑ การงานที่ถูกต้อง ๑ การเลี้ยงชีวิตที่ถูกต้อง๑ ความพยายามที่ถูกต้อง๑ สติที่ถูกต้อง๑ สมาธิที่ถูกต้อง๑

_________________________________________________________________________________

วิชาธรรมวิภาค (ติกะ คือ หมวด ๓)

ติกะ คือ หมวด ๓

รัตนะ ๓ อย่าง

รัตนะ แปลว่าแก้ว หมายถึง พุทธรันตะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ที่เรียกว่า รัตนะ เพราะเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูงสุด และหาได้ยาก ก่อให้เกิดความเคารพ เป็นความสุขอบอุ่นใจของผู้นับถือ ทั้ง ๓ นี้ รวมเรียกด้วยความเคารพอย่างสูงสุดว่า พระรัตนตรัย หรือ พระไตรรัตน์
๑.พระพุทธ คือ ผู้ตรัสรู้ดีโดยชอบพระองค์เองก่อนแล้ว ทรงมีพระกรุณาคุณสอนให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย
๒.พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธ เรียกรวมกันว่า พระธรรมวินัยแบ่งออกได้ ๓ ประเภท คือ ปริยัติธรรม ปฏิปัตติธรรม และ ปฏิเวธธรรม
๓.พระสงฆ์ คือ หมู่ชนที่ฟังคำสอนของพระพุทธแล้วเลื่อมใสออกบวช ปฏิบัติตามคำสอนนั้นอย่างเคร่งครัด เมื่อปฏิบัติได้แล้วก็สอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตามด้วย พระสงฆ์มี ๒ ประเภท คือ อริยสงฆ์และสมมติสงฆ์

คุณของรัตนะ ๓ อย่าง

พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย
๑.คำว่า “รู้ดีรู้ชอบ” หมายถึง ทรงรู้ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง คือ รู้ว่าชาติ ชรา มรณะเป็นต้น เป็นทุกข์จริง.ตัณหา เป็นสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์จริง. ความที่ตัณหาดับไปโดยไม่เหลือ เป็นความดับทุกข์ได้จริง. มรรค คือ ปัญญาเห็นชอบ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้จริง เรียกว่า รู้อริยสัจ
๒.คำว่า “ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว” หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าย่อมไม่ตกไปอยู่ในสถานที่ต่ำช้าใน ภพทั้ง ๒ คือ ในภพนี้ มีถูกกักขังในเรือนจำ เกิดในถื่นทุรกันดาร เป็นต้น ในภพหน้า ได้แก่ อบายภูมิทั้ง ๔ มี ตกนรก เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย
๓.คำว่า “ปฏิบัติชอบ” หมายถึง พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อความรู้ยิ่ง ให้สมกับเป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม เมื่อปฏิบัติได้ดังนั้นแล้ว จึงสั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตามด้วย พุทธศาสนาที่ยังดำรงอยู่จนถึงทุกวันนี้ก็เพราะพระสงฆ์ช่วยกันเผยแผ่พระธรรม ของพระพุทธเจ้า

อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ อย่าง

๑.  ทรงสั่งสอนเพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริง คือ พระองค์ทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้ฟังว่าควรรู้ควรเห็นเรื่องใด แล้วจึงนำเรื่องนั้นมาแสดงให้เหมาะสมกับเพศ ภาวะ ระดับสิตปัญญา และบารมีโดยไม่มีปิดบังอำพราง เพื่อให้ผู้ฟังได้รู้จริงในสิ่งนั้น เป็นการเปิดเสรีภาพทางการศึกษาไม่มีการผูกขาดความรู้
๒.  ทรงสั่งสอนมีเหตุผล คือ ทรงสั่งสอนให้ผู้ฟังสามารถใช้วิจารณญาณพิจารณาให้เห็นจริงได้ด้วยตนเอง ว่าเรื่องที่พระองค์ตรัสสอนนั้น เป็นเรื่องจริงหรือไม่อย่างไร เป็นการเปิดเสรีภาพทางความคิด ไม่มีการบังคับให้เชื่อตาม
๓.  ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือ ทรงสั่งสอนให้มีความเต็มใจที่จะปฏิบัติเอง ไม่มีการบังคับให้ต้องปฏิบัติ แต่ถ้าใครสามารถปฏิบัติตามได้ ย่อมได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติได้อย่างไม่จำกัดกาลเวลา โดยไม่ต้องรอใครมาหยิบยื่นให้ เป็นการเปิดเสรีภาพในการทำความดี
โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง
๑.สัพพปาปัสสะ อกรณัง หมายถึง การงดเว้นจากทุจริต จากบาปกรรมทุกอย่าง ทั้งทายกาย วาจา ใจ พยายามลดละที่จะทำซ้ำ และป้องกันไม่ให้เกิดมีขึ้นในจิตสันดาน
๒.กุสลัสสูปสัมปทา หมายถึง การทำสุจริต เป็นการทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ ให้มีในตนอยู่เสมอ ตั้งใจทำความดีใหม่เพิ่มขึ้น และรักษาความดีเดิมที่มีอยู่
๓.สจิตตปริโยทปนัง หมายถึง การทำใจให้หมดจด ให้ปลอดจากกิเลส ที่ทำให้เศร้าหมอง มีโลก โกรธ หลง เป็นต้น
พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะมีอยู่อย่างมากหลาย แต่เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ก็รวมลงอยู่ในพระโอวาททั้ง ๓ นี้ ที่มีคติจำง่ายๆ ว่า ละชั่ว ทำดี จิตแจ่มใส ซึ่งมักเรียกกันว่า โอวาทปาฏิโมกข์ พระโอวาททั้ง ๓ จัดลงในไตรสิกขา คือ เว้น ทุจริต= ศีล ประกาอบสุจริต = สมาธิ ทำใจของตนให้หมดจด= ปัญญา



ทุจริต ๓ อย่าง
ทุจริต หมายถึง การประพฤติชั่ว การทำผิด การทำไม่ดี มีที่เกิด ๓ ทาง คือ กาย วาจา ใจ
๑.ประพฤติชั่วทางกาย มี ๓ อย่างคือ
-ฆ่าสัตว์ ทั้งทีเป็นมนุษย์ตั้งแต่ถือกำเนิดในครรภ์รวมถึงสัตว์เดรัจฉานทุกชนิด
-ลักทรัพย์ ทั้งที่เป็นสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ จะมีราคาค่างวดมากน้อยก็ตาม ถ้าเจ้าของไม่ได้ให้ด้วยกายหรือวาจาหยิบเอาของนั้นมาถือว่าเป็นการลัก
-ประพฤติผิดในกาม เป็นชู้ในชายหญิงที่มีภรรยาสามีแล้ว
๒.ประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่างคือ
-พูดเท็จ พูดให้คลาดจากความเป็นจริง รวมถึงการเขียนเป็นหนังสือด้วย
-พูดส่อเสียด พูดยุแหย่เพื่อให้คน ๒ ฝ่ายผิดใจกัน
-พูดคำหยาบ พูดคำที่ทำให้ผู้ฟังเจ็บหรือบันดาลโทสะ
-พูดเพ้อเจ้อ พูดพล่อยๆ ไม่เป็นแก่นสาร
๓.ประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง คือ
-โลภอยากได้ของเขา คิดเอาแต่ได้ของคนอื่น โดยไม่คำนึงว่าควรหรือไม่ควร
-พยาบาทปองร้ายเขา คิดปองร้ายคนที่ตนไม่ชอบใจ
-เห็นผิดจากคลองธรรม เห็นว่าบาปบุญคุณโทษไม่มีผล การทำดีหรือชั่วจะใด้รับผลต่อเมื่อมีผู้รู้เห็น
การประพฤติชั่วทั้ง ๓ ทางนั้น ประพฤติชั่วทางใจมีโทษรุนแรงที่สุดกว่าการทำบาปกรรมอื่นๆ เป็นเหตุให้คนที่มีความเห็นอย่างนั้นปฏิเสธเรื่องบาปบุญคุณโทษ สามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง
ทุจริตทั้ง ๓ นี้ เป็นทางนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนไม่มีความสุขความเจริญ จึงไม่ควรประพฤติ ผู้ทำทุจริตย่อมได้รับโทษ คือ
-ตนเองก็ตำหนิตนเองได้
-ถูกตำหนิจากผู้รู้
-ชื่อเสียงทางไม่ดีขจรไป
-ใกล้สิ้นใจก็หลงเพ้อ
-เสียชีวิตแล้วไปเกิดในทุคติ

สุจริต ๓ อย่าง

การ ทำ พูด คิด ของบุคคลที่ประกอบด้วยเจตนา เช่น จงใจทำ จงใจพูด จงใจคิด ลักษณะอย่างนี้ เรียกว่า ประพฤติ
การประพฤติในทางที่ดีงามถูกต้อง ชื่อว่า สุจริต เกิดขึ้นได้ ๓ ทางตามความประพฤติ

๑. ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกว่า กายสุจริต
-เว้นจากการฆ่าสัตว์
-เว้นจากการลักทรัพย์
-เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๒.ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกว่า วจีสุจริต
-เว้นจากการพูดเท็จ
-เว้นจากการพูดส่อเสียด
-เว้นจากการพูดคำหยาบ
-เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๓.ประพฤติชอบด้วยใจ  เรียกว่า มโนสุจริต
-ไม่โลภอยากได้ของเขา
-ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
-ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม
๑-๒ คำว่า “เว้น ในการประพฤติชอบทางกาย วาจา หมายถึง การตั้งใจหลีกเลี่ยง งดที่จะไม่ทำความชั่วทางกาย วาจา การงดเว้น เรียกว่า วิรัติ มี ๓ อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ งดเว้นได้เฉพาะหน้า แม้สบโอกาสที่จะทำความชั่ว ก็ยับยั้งใจไม่ให้ทำได้ สมาทานวิรัติ งดเว้นได้ด้วยการสมาทาน ด้วยเจตนาที่ตั้งใจไว้ว่าจะไม่ทำความชั่ว สมุจเฉทวิรัติ งดเว้นได้เด็ดขาด ไม่ทำความชั่วตลอดชีวิต เป็นการงดเว้นได้ของพระอริยบุคคล
๓.คำว่า “ไม่” ในการประพฤติชอบทางใจ หมายถึงไม่คิดอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่คิดมุ่งร้ายจองล้างจองผลาณผู้อื่น “เห็นชอบตามคลองธรรม” หมายถึง มีความเห็นที่ถูกต้องในความเห็น ๑๐ อย่าง เช่น เห็นว่า การให้ทานมีผลจริง การบูชามีผลจริง เป็นต้น
สุจริตทั้ง ๓ เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ เป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญ ผู้ทำความดีย่อมได้รับประโยชน์ คือ
-ตัวเองตำหนิตัวเองไม่ได้
-ได้รับการสรรเสริญยกย่องจากผู้รู้
-ชื่อเสียงดีงามย่อมขจรไป
-เวลาใกล้สิ้นใจมีสติไม่หลงเพ้อ
-เสียชีวิตแล้วไปเกิดในสุคติ

อกุศลมูล ๓ อย่าง

รากเง่าของอกุศล เรียกอกุศลมูล เรียกว่า อุกศลมูล, เมื่อกุศลมูลเหล่านี้มีอยู่แล้ว อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรละเสีย
๑.โลภะ หมายถึง ความโลภอยากได้อันเป็นไปในทาง ทุจริต เป็นต้นเหตุของความชั่วความไม่ดีต่างๆ เช่น ลัก ขโมย โกง ปล้น เป็นต้น เป็นอกุศลที่ทำลายศีลธรรมอันดีงาม คือ การบริจาค รู้จักการเสียสละและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น
๒.โทสะ หมายถึง จิตที่คิดประทุษร้ายผู้อื่น เป็นต้นเหตุของการก่อวิวาททำร้ายกัน บันดาลโทสะถึงที่สุดอาจฆ่ากันได้เมื่อทำตอบโดยตรงไม่ได้ก็กลั่นแกล้งกัน ทำให้อยู่กันอย่างเดือดร้อนหวาดระแวงไม่เป็นสุข โทสะ เกิดจากมานะ ความถือตัว กำจัด ได้ด้วยเมตตา มีความรักความปรารถนาดีต่อกัน
๓.โมหะ หมายถึง ความหลง ความเขลา ความรู้ไม่จริง เป็นต้นเหตุให้เกิดความประมาท เชื่อง่าย หูเบา เป็นต้นเหตุให้ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ไม่เชื่อว่าบาปบุญคุณโทษมีจริงโมหะเกิดจากมิจฉาทิฏฐิ ความคิดเห็นที่ผิด กำจัดได้ด้วยปัญญาพิจารณาให้เห็นประจักษ์ในสิ่งต่างๆ ก่อนแล้วจึงเชื่อ
อกุศลมูลทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นเหตุทำลายคุณงามความดีของมนุษย์และเป็นเหตุแห่งความทุกข์เดือดร้อนได้ อย่างไม่สิ้นสุดฉะนั้น อย่าให้เกิดมีขึ้นในจิตใจ

กุศลมูล ๓

สัปปุริสบัญญัติ คือข้อที่สัตบุรุษตั้งไว้ ๓ อย่าง
๑.  ทาน สละสิ่งของๆ ตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒.  ปัพพัชชา ถือบวช เป็นอุบายเว้นจากเบียดเบียนกันและกัน
๓.  มาตาปิตุอุปัฏฐาน ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข
อปัณณกปฏิปทา คือปฏิบัติใม่ผิด ๓ อย่าง
๑.  อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยินดียินร้ายเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
๒.  โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอควร ไม่มากไม่น้อย
๓.  ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก

บุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง

สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ ย่าง
๑.  ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒.  ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓.  ภวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

สามัญลักษณะ ๓ อย่าง

ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง เรียกสามัญลักษณะ ไตรลักษณะก็เรียก แจกเป็น ๓ อย่าง
๑.  อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒.  ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓.  อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน
_________________________________________________________________________________

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls