@ธรรมะ สวัสดีทุกท่าน@ @เชิญเขียนบทความเกี่ยวกับธรรมะได้ ครับ แล้วส่งมาที่charan_54@hotmail.co.th@ @บุญไม่ทำมัวแต่อ้วนวอน ระวังเทวดาจะย้อนว่า วอน วอน วอนเสียแล้ว@ @เดินอย่างมีความสุขที่ได้เดิน เราจะมีอนาคตอยู่ในปัจจุบัน@

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

สอนหนังสือ

 สอนหนังสือ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

รงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์  จังหวัดฉะเชิงเทรา

http://i.picasion.com/pic44/c4af003eb5625f6b40faeb6f1b69f349.gif

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

        
     สมาธิ (สันสกฤต : समाधि) คือการฝึกฝนทางจิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงานการทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้
รูปแบบการฝึกสมาธินั้นมากมายและมีความหลากหลาย คนทั่วไปอาจจะเข้าใจคำว่า "สมาธิ" ในบริบทที่แตกต่างกัน การทำสมาธินั้นมีมาตั้งแต่โบราณและ การฝึกฝนสืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นองค์ประกอบของประเพณีทางศาสนา ในประเพณีจิตวิญญาณตะวันออก เช่น ศาสนาฮินดู และ พุทธศาสนา แม้ในประเทศแถบตะวันตกบางแห่งก็เช่นกัน

สมาธิ ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต แต่สมาธิในความหมายของการฝึกปฏิบัติ คือการทำใจให้นิ่ง ซึ่งต่างจากร่างกายที่ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจนั้นตรงกันข้าม คือจิตใจหวั่นไหวย่อมอ่อนแอ แต่หากหยุดนิ่งเฉยได้แล้วจะยิ่งมีพลัง เหมือนการรวมโฟกัสของแสงให้เป็นจุดเดียวกัน ย่อมมีพลังที่จะจุดไฟให้ติดได้
การทำสมาธิมีปรากฏในหลายศาสนา ซึ่งรวมถึง พุทธศาสนา ฮินดู และเต๋า และยังคงรวมถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เช่น โยคะ

ระดับของสมาธิในพุทธศาสนา

  1. ขณิกสมาธิ สมาธิค่อยๆ เล็กน้อย ที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถ
  2. อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่าอัปปนาสมาธิ
  3. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

การทำสมาธิในพุทธศาสนา

 การทำสมาธิ ตามหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ถึง 40 วิธี ทุกวิธีล้วนเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียว คือการทำให้จิตใจสงบแต่ที่วิธีการมีเยอะนั้น ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า สมถกรรมฐาน เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นฐานนิสัยของแต่ละคน โดยพระพุทธองค์ทรงแบ่งพื้นฐานนิสัยไว้ 6 ประเภท เรียกว่า จริต 6 อาทิเช่น คนที่มีราคะจริต คือหลงไหลในของสวยงามง่าย ควรพิจารณาความไม่งาม (อสุภะ) ความไม่เที่ยง- ความไม่แน่นอนในสังขารต่างๆ (อนิจจัง) เพื่อให้ใจไม่ติดในราคะได้ง่ายจะได้ทำสมาธิได้ง่าย เพราะเมื่อหลับตาทำสมาธิแล้ว ใจเราชอบอะไร คุ้นอะไร ก็จะมีภาพนั้นปรากฏขึ้นมาในใจ
การทำสมาธิ ไม่ต้องคอยให้ใจสงบ สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่ถ้าต้องการความต่อเนื่องยาวนาน และให้ได้ผลการปฏิบัติที่ดีนั้น มีหลักการเบื้องต้นและขั้นตอนดังนี้
  1. บริโภคน้ำอาหารมิให้อิ่มไป หิวไป ถ่ายท้อง แปรงฟัน อาบน้ำ เช็ดตัว ให้เรียบร้อย เตรียมร่างกายให้สะอาด นุ่งชุดที่ไม่คับตัว ผ้าเบาๆสบายๆ
  2. หามุมสงบ ไม่เสียงดัง ไม่อึกทึก ไม่มีการรบกวนจากภายนอกได้ง่าย มีอุณหภูมิพอดีๆ ที่นั่งที่รู้สึกสบายกับเรา เช่น อายุมากเข่าไม่ดีอาจนั่งบนเก้าอี้ก็ได้
  3. นั่งขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย หรือวางมือตามสะดวกที่อื่นๆ จะเป็นที่หน้าตักก็ได้ บนเข่าก็ได้ ถ้าบนเข่าอาจหงายหรือคว่ำมือก็ได้
  4. หลับตาเบาๆ ให้ขนตาชนกัน แต่อย่าเม้มตา
  5. ขยับท่าทางให้รู้สึกว่าสบาย สังเกตตัวเองว่ามีการเกร็งไหม ถ้ามีขยับผ่อนคลายความรู้สึกไม่ให้เกร็ง
  6. ทำใจให้โล่ง โปร่ง เบา สบาย ปล่อยวางสิ่งต่างๆในใจ ละปริโพธ หรือความกังวลต่างๆ ชั่วคราว อาจตั้งกำหนดเวลาในใจ ว่าจะอุทิศให้เวลาระหว่างนี้แก่การภาวนา ทำใจให้มีความสุขเพราะแค่เราอยากมีความสุข จิตเราก็จะมีความสุขทันที ทำใจให้สนุกกับการปฏิบัติธรรม
  7. เมื่อสบายดีแล้ว ให้ภาวนาในใจ จะใช้ความรู้สึกจับกับลมหายใจ หายใจเข้าสั้นก็รู้ หายใจออกสั้นก็รู้ หายใจเข้ายาวก็รู้ หายใจออกยาวก็รู้ โดยไม่ต้องใช้คำบริกรรมก็ได้ จะใช้คำบริกรรมว่า ว่า พุท เมื่อหายใจออกให้กำหนดว่า โธ ก็ได้ หรือจะใช้คำบริกรรมอื่นๆ เช่น นับ 1,2,3 .. ไปเรื่อยๆ เมื่อหายใจเข้าออกครั้งหนึ่ง ก็ได้เช่นกัน (วิธีการเหล่านี้ เป็นวิธีการของโบราณจารย์)
  8. ในระหว่างการปฏิบัติธรรม อาจจะมีเรื่องฟุ้งซ่านเข้ามาเป็นระยะ อย่าสนใจ ถ้าจิตวอกแวกจนสนใจเรื่องอื่น เมื่อได้สติ ให้เริ่มภาวนาใหม่
  9. อาจรู้สึกเมื่อย คัน ปวด ให้อดทน ถ้าทนไม่ไหวให้เปลี่ยนอิริยาบถแก้ เช่นเกาที่คัน แต่ให้ทำอย่างมีสติ เช่น ภาวนาว่า เมื่อยหนอๆ คันหนอๆ เกาหนดๆ ซึ่งถ้าจะลุกมาเดินจงกรมจนกว่าจะหายเวทนาก็ได้
  10. เมื่อใจเริ่มสงบดีแล้ว จิตกำลังผ่านขณิกสมาธิ กำลังย่างเข้าอุปจารสมาธิ อาจจะมีความรู้สึกแปลกๆ มีอาการต่างๆกันไปตามสภาวะจิต ของแต่ละคน เช่นตัวหมุน ตัวเบา สั่น ขนลุกและอื่นๆ ก็ให้วางเฉยไปตั้งใจภาวนาเรื่อยๆ
  11. เมื่อจิตเป็นสมาธิมากขึ้น คำภาวนาจะหายไป ให้กำหนดสภาวะที่รับรู้ได้เด่นชัดในจิต แล้วให้จิตไปจับไว้แทน เช่น ลมหายใจ
  12. เมื่อจิตมีสมาธิกล้าขึ้นจิตจะนิ่งสงบเหมือนผิวน้ำที่ไร้คลื่น จิตจะกำหนดอะไรเป็นองค์ภาวนาไม่ได้ชั่วคราว เราอาจจะตกใจว่าไม่มีอะไรให้กำหนดได้อาจหลุดจากสมาธิ ให้พิจารณาว่า สภาวะที่กำหนดอะไรมิได้ เป็น ธรรมชาติ คือเป็นความจริงให้กำหนดความจริงนี้แทน
  13. เมื่อทรงอารมณ์ไว้ได้อุคคหนิมิตจะเกิดขึ้น เหมือนน้ำนิ่งจะเห็นก้นสระ จิตจะเห็นภาพสัญญาที่เก็บในภวังคจิต(จิตใต้สำนึก) คือ อารมณ์ภาวนาที่กำหนดไว้ชัดขึ้นในจิต
  14. เมื่อใจนิ่งได้ระดับนึง จะเริ่มเห็นความสว่างจากภายใน เป็นการเห็นด้วยใจ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อันให้เกิดความเชื่อทางพุทธศาสนาต่างๆ เช่น เห็นสิ่งลี้ลับ กายทิพย์ต่างๆ หรือมีภาพ ให้เห็นเป็นเรื่องราวต่างๆ เช่นในอดีต หรือชาติที่แล้วมา หรือเหตุการณ์ในอนาคต ให้ทำใจเฉยๆอย่างเดียว หากมีข้อสงสัย หรือมีคำถาม มีสิ่งผิดปกติอะไรก็ช่าง ก็ให้บอกตัวเองว่าคิดไปเอง เพราะเราไม่อาจทราบได้ว่านิมิตนั้นจริงเท็จเพียงใด จงอย่าสนในให้ทำสมาธิต่อไป เพราะแม้จะจริงก็จะทำให้เราล่าช้า ถ้าไม่จริงอาจทำเราเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือ อาจเสียสติได้ ถ้าคุมจิตมิได้ก็ให้แผ่เมตตาแก่เจ้ากรรมนายเวร
  15. เมื่อจิตเข้าสู่อัปปนาสมาธิจะเห็นปฏิภาคนิมิต แต่ถ้ากำหนดอานาปานสติ และวิปัสสนา จะเห็นขันธ์ 5 เกิดดับขึ้น ให้ระวัง วิปัสสนูปกิเลส ถ้าผ่านไปได้ก็จะทำลายวิปลาสต่างๆ และบรรลุฌาน (ถ้าเน้นสมถ)หรือญาน(ถ้าเน้นวิปัสสนา)ตามลำดับ
ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ อย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง


การเดินจงกรม ๖ ระยะ

การเดินจงกรมจะใช้สติพิจารณารู้อาการที่ปรากฏทางกายเป็น 6 ระยะดังนี้


1. การเดินจงกรม 1 ระยะ กำหนดรู้ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ


        เดินจงกรม 1 ระยะ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ให้ตั้งสติกำหนด ยกเท้าขึ้นเหนือระดับพื้นเสมอตาตุ่มแล้วก้าวเท้าขวาช้า ๆ พอประมาณ โดยกำหนดในใจตามไปพร้อมกับเท้าที่ก้าวไปให้ได้ปัจจุบัน อย่าก้าวไปก่อนแล้วกำหนดตามทีหลัง และอย่ากำหนดก่อนโดยที่ยังมิได้ยกเท้าขึ้น เช่น เดินจงกรม 1 ระยะ ขณะที่เท้าขวาก้าวไป จนวางเท้าลงกับพื้น ก็ให้กำหนดในในแต่แรกเริ่มยกเท้า ไปกับคำว่า ?ขวาย่างหนอ? พอเท้าเหยียบลงถึงพื้นก็ให้ทันกับคำว่า ?หนอ? พอดี
        และขณะที่ยกเท้าซ้ายก้าวไปจนวางเท้าลงกับพื้นก็ให้กำหนดในใจว่า ?ซ้ายย่างหนอ? พอเท้าลงถึงพื้นก็ให้ทันกับคำว่า ?หนอ? พอดี เช่นเดียวกับเท้าขวา ทำอย่างนี้ทุกครั้งและทุกก้าว เรียกว่าจงกรม 1 ระยะ
        เมื่อเดินไปถึงที่สุด้านใดด้านหนึ่งแล้ว ให้หยุดยืนสองเท้าวางชิดกัน แล้วกำหนดในใจช้า ๆ ว่า ?หยุดหนอ หยุดหนอ หยุดหนอ? เมื่อรูปยืนปรากฏขึ้นก็ให้กำหนดในใจว่า ?ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ? เมื่อจะกลับก็ให้หันตัวมาทางขวา และยกเท้าขวาแยกมาตั้งเป็นมุมฉาก พร้อมกับกำหนดในใจว่า ?กลับหนอ? แล้วยกเท้าซ้ายตามมาวางชิดกันกับเท้าขวา พร้อมกับกำหนดใจใจว่า ?กลับหนอ?
        ขั้นที่ 2 ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งที่ 1 คือ หมุนเท้าขวาแยกมาตั้งเป็นมุมฉาก พร้อมกับกำหนดในใจว่า ?กลับหนอ? แล้วยกเท้าซ้ายตามมาวางชิดกับเท้าขวาพร้อมกับกำหนดในใจว่า ?กลับหนอ? เมื่อรูปยืนปรากฏขึ้น ก็กำหนดว่า ?ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ? แล้วจงเดิน พร้อมกับกำหนดว่า ?ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ? ต่อไป


        การเดินจงกรมและการกำหนดรู้ตัวอยู่เสมอ ดังนี้ เป็นการฝึกปฏิบัติกรรมฐานในอิริยาบถบัพพะ ที่ว่า
        ?คจฺฉนฺโต  วา  คจฺฉามีติ  ปชานาติ เมื่อเดินอยู่ก็ให้กำหนดรู้ว่าเดินอยู่
        ฐิโต  วา ฐิโตมหิติ  ปชานาติ เมื่อยื่นอยู่ก็ให้กำหนดรู้ว่ายืนอยู่?
        และการเดินจงกรมไปยืนอยู่กับกลับ พร้อมกับกำหนดรู้ตัวอยู่เสมอ ๆ เป็นการฝึกปฏิบัติกรรมฐานในหมวดสัมปชัญญะบัพพะ ที่ว่า
?อภิกฺกนฺเต  ปฏกฺกนฺเต  สมฺปชานการี  โหติ เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอในการก้าวไปข้างหน้าในการถอวไปข้างหลัง?
        ตลอดเวลาที่เดินจงกรม 1 ระยะ นี้ วิปัสสนาจารย์ จะสอนให้โยคีนั่งสมาธิกำหนดอาการพอง - ยุบ สลับกันไปด้วย




เดินจงกรม 2 ระยะ ยกหนอ เหยียบหนอ  
       โยคีพึงยืนชิดเท้าทั้งสองให้ปลายเท้าเสมอกัน แล้วตั้วตัวให้ศีรษะตรง และกำหนดในใจว่า ?ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ? ตั้งสติกำหนดและกดเท้าซ้ายมั่นไว้ แล้วยกเท้าขวาขึ้นช้า ๆ ควบไปกับการยื่นเท้าไปข้างหน้า กำหนดในใจว่า ?ยกหนอ? แล้วก้าวไปวางเท้าลงกับพื้นพร้อมกับกำหนดใจในว่า ?เหยียบหนอ ดังนี้เรียกว่า เดินจงกรม 2 ระยะ
        นอกนั้นคงปฏิบัติเหมือนการเดินจงกรม 1 ระยะ ทุกประการ




เดินจงกรม 3 ระยะ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
       การเดินจงกรม 3 ระยะ ก็ไม่ผิดแผกแตกต่างกับการเดินจงกรมดังที่กล่าวมาข้างต้น จะต่างกันก็แต่ว่า ขณะยกเท้าขึ้นก็ให้กำหนดในใจ ไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวของเท้าว่า ?ยกหนอ? ขณะที่ยกเท้าขึ้นจากพื้นเสมอตาตุ่ม เท้าเคลื่อนไปข้างหน้านั้นกำหนดว่า ?ย่างหนอ? ขณะทั้งลงเหยียบราบกับพื้นกำหนดว่า ?ย่างหนอ? ขณะเท้าลงเหยียบรมกับพื้นให้กำหนดว่า ?เหยียบหนอ? ในการเดินจงกรม 3 ระยะ นี้
        ระยะที่ 1 ให้ยกเท้าขึ้นตรง ๆ ไม่ใช้เผยอส้นเท้าก่อน แล้วจึงยกเท้า เพราะจะเหมือนกับกการเดินจงกรม 4 ระยะ ที่จะกล่าวต่อไป




เดินจงกรม 4 ระยะ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ


        1. ให้เผยอส้นขึ้นพร้อมกับกำหนดในใจว่า ?ยกส้นหนอ?
        2. ขณะยกเท้าขึ้นจาพื้นให้กำหนดในใจว่า ?ยกหนอ?
        3. ขณะที่ยื่นเท้าไปข้างหน้าให้กำหนดในใจว่า ?ย่างหนอ?
        4. ขณะที่เท้าเหยียบราบกับพื้นให้กำหนดว่า ?เหยียบหนอ?
        จะเห็นได้ว่าไม่ต่างกับเดินจงกรม 3 ระยะ เพียงแต่เพิ่มระยะ 1 โดยเผยอส้นขึ้นก่อน พร้อมกับกำหนดใจในว่า ?ยกส้นหนอ? แล้วจึงยกเท้าขึ้นจากพื้น เช่นเดียวกับการเดิน 3 ระยะ




เดินจงกรม 5 ระยะ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ
 
     1. ให้เผยอส้นขึ้นพร้อมกับกำหนดในใจว่า ?ยกส้นหนอ?
         2. ขณะยกเท้าขึ้นจากพื้อนให้กำหนดในใจว่า ?ยกหนอ?
        3. ขณะที่เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าให้กำหนดในใจว่า ?ย่างหนอ?
        4. ขณะที่ลดเท้าลงต่ำแต่ยังไม่ถึงพื้น ให้กำหนดว่า ?ลงหนอ?
        5. ขณะที่ปลายเท้าแตะพื้นกำหนดว่า ?ถูก? จนส้นเท้าสัมผัสพื้นกำหนด ?หนอ?




เดินจงกรม 6 ระยะ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ
 
      1. ให้เผยอส้นเท้าขึ้นแล้วกำหนดในใจว่า ?ยกส้นหนอ?
        2. ขณะยกเท้าขึ้นพ้นจากพื้นให้กำหนดในใจว่า ?ยกหนอ?
        3. ขณะที่เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าให้กำหนดในใจว่า ?ย่างหนอ?
        4. ขณะที่ลดเท้าลงต่ำแต่ยังไม่ถึงพื้นให้กำหนดในใจว่า ?ลงหนอ?
        5. ขณะที่ปลายเท้าแตะกับพื้นให้กำหนดในใจว่า ?ถูกหนอ?
        6. ขณะที่ส้นเท้ากดลงกับพื้นให้กำหนดในใจว่า ?กดหนอ?



 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls