@ธรรมะ สวัสดีทุกท่าน@ @เชิญเขียนบทความเกี่ยวกับธรรมะได้ ครับ แล้วส่งมาที่charan_54@hotmail.co.th@ @บุญไม่ทำมัวแต่อ้วนวอน ระวังเทวดาจะย้อนว่า วอน วอน วอนเสียแล้ว@ @เดินอย่างมีความสุขที่ได้เดิน เราจะมีอนาคตอยู่ในปัจจุบัน@

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

วิชาธรรมวิภาค (หมวด ๓)

ติกะ  หมวด 

อกุศลวิตก 

อกุศลวิตก  แปลว่า ความนึกคิดที่ไม่ดี ไม่ฉลาด
๑.กามวิตก   นึกคิดเรื่องกาม หมายถึง การคิดถึงแต่เรื่องที่จะสนองความต้องการของตนเองให้สมปรารถนา
๒.พยาบาทวิตก  นึกคิดเรื่องพยาบาท  หมายถึง การผูกใจเจ็บ  ผูกอาฆาตพยาบาท   คิดหาทางแก้แค้นคู่อริให้พินาศ
๓.วิหิงสาวิตก    นึกคิกเรื่องเบียดเบียน   หมายถึง ความคิดที่ต้องการเห็นคู่อริหรือผู้อื่นประสบความทุกข์ยากลำบาก พอใจที่ผู้อื่นเดือดร้อน

กุศลวิตก ๓

กุศลวิตก แปลว่า ความนึกคิดที่ดีงาม  คิดอย่างชาญฉลาด  เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
๑.เนกขัมมวิตก  นึกคิดเรื่องออกจากกาม  หมายถึง การคิดหาวิธี แก้ไขนิสัยเห็นแก่ตัว  ด้วยการหลีกหนีให้ไกลจากสิ่งดึงดูดใจ
๒.อพยาบาทวิตก   นึกคิดเรื่องไม่พยาบาท  หมายถึง  ความคิดที่ประกอบด้วย เมตตา คือ การปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขยิ่งๆขึ้นไป
๓.อวิหิงสาวิตก  นึกคิดเรื่องไม่เบียดเบียน  หมายถึง  ความคิดที่ประกอบด้วย กรุณา
อัคคิ  ( ไฟ ) 
อัคคิ  แปลว่า ไฟ ในที่เปรียบกิเลสเหมือนกับไฟที่มี่ความเร่าร้อนเผ่าผลาญจิตใจคนให้ตายจากความดีงาม   
๑.ราคัคคิ    ไฟคือความกำหนัด  หมายถึง ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะความรักใคร่  ความอยากได้ของสวยๆงามๆ
๒.โทสัคคิ   ไฟคือความโกรธ   หมายถึง  ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะความโกรธขัดเคือง อารมณ์เสีย
๓.โมหัคคิ    ไฟคือความหลง  หมายถึง ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะความหลงไม่รู้จริง  โง่งมง่าย    ทั้ง ๓   ข้อ จัดเป็นอัคคิ  เพราะเป็นสภาพเผาลนสันดานให้ร้อน.

อธิปเตยยะ    (อธิปไตย)

อธิปเตยย แปลว่า  ความเป็นใหญ่ ได้แก่ บุคคลที่มีความเชื่อมั่นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วปฏิบัติโน้มเอียงไปทางนั้น
๑.อัตตาธิปเตยยะ    ถือตนเป็นใหญ่  หมายถึง  การยืดถือความคิด  การกระทำและคำพูดของตนเองเป็นหลัก
๒.โลกาธิปเตยยะ     ถือโลกเป็นใหญ่   หมายถึง การคล้ายตามเสียงข้างมาก  เป็นไปตามกระแสสังคม   คนส่วนมากว่าอย่างไรก็ว่าตามนั้น
๓.ธัมมาธิปเตยยะ     ถือธรรมเป็นใหญ่  หมายถึง การกระทำที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง   ความจริง   ความบริสุทธิ์ยุติธรรม รู้จักผิดชอบ ชั่ว  ดี

ญาณ ๓

ญาณ   แปลว่า  ความหยั่งรู้  ปัญญากำหนดรู้   ได้แก่ การรู้แจ้ง อริยสัจ ๔
๑.สัจจญาณ      รู้ความจริง  (อริยสัจ ๔ )หมายถึง การรู้แจ้งความจริง ว่า  สิ่งสิ่งคือปัญหา นี้คือ สาเหตุของปัญหา  นี้คือเป้าหมายการแก้ปัญหา นี้คือวิธีแก้ปัญหา
๒.กิจจญาณ      รู้กิจอันควรทำ  หมายถึง การรู้แจ้งว่า ควรจะทำอย่างไร บ้างกับปัญหานั้น
๓.กตญาณ       รู้สิ่งที่ทำแล้ว  หมายถึง  การรู้แจ้งว่า สิ่งนั้นตนได้ทำสำเร็จแล้ว

ตัณหา 

ตัณหา  แปลว่า ความทะยานอยาก   ความดิ้นรนแสวงหา
๑.กามตัณหา     ความอยากได้กามคุณ  หมายถึง  ความอยากได้ในกามคุณ ๕ คือ รูป  เสียง  กลิ่น  รส   สัมผัส  เพื่อสนองความต้องการของตนเอง
๒.ภวตัณหา ความอยากมี   หมายถึง อยากเป็นในสิ่งที่ตนเองรัก  และชอบใจ
๓.วิภวตัณหา ความไม่อยากมี หมายถึงไม่อยากเป็นในสิ่งที่ตนเองไม่ต้องการไม่ชอบใจในสิ่งที่ตนไม่ต้องการ

 

ปาฏิหาริยะ 

ปาฏิหาริยะ แปลว่า   สิ่งที่น่าอัศจรรย์   สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับมนุษย์ปุถุชน  เป็นคุณสมบัติของผู้วิเศษ
๑.อิทธิปาฏิหาริย์        ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์   หมายถึง  การแสดงปาฏิหาริย์ด้วยอิทธิฤทธิ์ต่างๆ
๒.อาเทสนาปาฏิหาริย์    ดักใจเป็นอัศจรรย์  หมายถึง  การรู้ความในใจของผู้อื่น รู้เท่าทันความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น 
๓.อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์   หมายถึง  คำสอนที่มีเหตุ มีผล  ใครนำไปประพฤติปฏิบัติ   ย่อมได้รับผลตามนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า  ยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริยะว่า  เป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่า   อย่างข้างต้น

ปิฎก 

ปิฎก   แปลว่า กระจาด  ตะกร้า  หรือหมวดหมู่   หมายถึงตะกร้าสำหรับรวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระไตรปิฎก
๑.พระวินัยปิฎก     หมวดพระวินัย หมายถึง พุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ  ความเป็นอยู่  ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจกรรมต่างๆแบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (อาทิกัมมะ  ปาจิตตีย์  มหาวรรค จุลวรรค  ปริวาร  )
๒.พระสุตตันปิฎก หมวดพระสูตร   หมายถึง พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆที่ตรัสให้เหมาะกับอุปนิสัยของแต่ละบุคคลและโอกาส  แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์  เรียกย่อว่า ( ทีฆนิกาย   มัชฌิมนิกาย  สังยุตตนิกาย  อังคุตตรนิกาย  ขุททกนิกาย)
๓.พระอภิธรรมปิฎก หมวดพระอภิธรรม  หมายถึง หลักธรรมต่างๆที่เป็นคำอธิบายและที่เป็นหลักวิชาล้วนๆที่ไม่เกี่ยวกับบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ คือ (ธัมมสังคณี  วิภังค์    ธาตุกถา  ปุคคบัญญัติ กถาวัตถุ  ยมก  ปัฏฐาน)

พุทธจริยา 

          พุทธจริยา แปลว่าการบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า
๑.โลกัตถจริยา   ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก โดยฐานเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน คือ ทรงอาศัยพระมหากรุณาเสด็จไปประกาศพระศาสนาเพื่อประโยชน์แก่มหาชนในแคว้นต่างๆ
๒.ญาตัตถจริยา      ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่พระญาติ หรือโดยฐานเป็นพระญาติ
๓.พุทธัตถจริยา       ทรงประพฤติประโยชน์ โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า  เช่นแสดงธรรมโปรดมหาชนและพระญาติ เป็นต้น

 

วัฏฏะ  ( วน ) 

วัฏฏะ  แปลว่า วนเวียน  วงจร  หรือเวียนว่ายตายเกิด เป็นสิ่งหมุนเวียนต่อเนื่องกันไปไม่มีที่สิ้นสุดเรียกว่าไตรวัฏ
 ๑.กิเลสวัฏฏะ    วนคือกิเลส หมายถึง  ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วทำให้ใจเศร้าหมอง
           ๒.กัมมวัฏฏะ      วนคือกรรม  หมายถึง การกระทำสิ่งที่และสิ่งที่ชั่ว
๓.วิปากวัฏฏะ    วนคือวิบาก หมายถึง การได้รับอันเกิดจากการกระทำนั้น

 

สิกขา 

สิกขา แปลว่า  ข้อที่ต้องศึกษา  เป็นข้อปฏิบัติสำหรับอบรม กาย  วาจา ใจ ให้สูงยิ่งขึ้นไปตามลำดับชั้น เรียกว่า  ไตรสิกขา
๑.อธิสีลสิกขา   ศึกษาเรื่องศีลอย่างยิ่งยวด  หมายถึง การศึกษาข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมกาย  วาจา   ใจ ให้เรียบร้อยดีงาม
๒.อธิจิตตสิกขา   ศึกษาเรื่องจิตอย่างยิ่งยวด  หมายถึง การศึกษาข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตให้สงบเป็นสมาธิ มีสติมั่นคง  ไม่ฟุ้งซ่าน
๓.อธิปัญญาสิกขา     ศึกษาเรื่องปัญญาอย่างยิ่งยวด   หมายถึง การศึกษาข้อปฏิบัติสำหรับอบรมฝึกฝนปัญญา ให้รู้แจ้งสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

สงเคราะห์มรรค    ลงในไตรสิกขา ดังนี้
๑.สัมมาวาจา   สัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะ สงเคราะห์ลงใน ศีล
๒.สัมมาวายามะ  สัมมาสติ    สัมมาสมาธิ   สงเคราะห์ลงใน สมาธิ
๓.สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะ สงเคราะห์ลงใน  ปัญญา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls