@ธรรมะ สวัสดีทุกท่าน@ @เชิญเขียนบทความเกี่ยวกับธรรมะได้ ครับ แล้วส่งมาที่charan_54@hotmail.co.th@ @บุญไม่ทำมัวแต่อ้วนวอน ระวังเทวดาจะย้อนว่า วอน วอน วอนเสียแล้ว@ @เดินอย่างมีความสุขที่ได้เดิน เราจะมีอนาคตอยู่ในปัจจุบัน@

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชาธรรมวิภาค(อัฏฐกะ คือ หมวด ๘)

อัฏฐกะ คือ หมวด ๘
โลกธรรม ๘
ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น เรียกว่าโลกธรรม
โลกธรรมนั้นมี ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรเปลี่ยนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริงอย่าให้มันครอบงำจิตได คือ อย่ายินดีในส่วนที่น่าปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่น่าปรารถนา
โลกธรรม หมายถึง เรื่องที่เป็นธรรมดาของโลก เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลก ไม่มีใครสามารถหนีพ้นได้ ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ก็ตามจำต้องประสบด้วยกันทุกคน มี ๘ ประการ คือ
๑.มีลาภ
๒.เสื่อมลาภ
๓.มียศ
๔.เสื่อมยศ
๕.นินทา
๖.สรรเสริญ
๗.สุข
๘.ทุกข์
โลกธรรม แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑. อิฎฐารมณ์ อารมณ์ที่คนโดยทั่วไปต้องการ ได้แก่ มีลาภ มียศ สรรเสริญ และสุข. ๒. อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่คนโดยทั่วไปไม่ต้องการ ได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และ ทุกข์
หลักปฏิบัติเมื่อประสบกับโลกธรรมเหล่านี้ ต้องรู้จักทำใจให้หนักแน่น วางตนวางใจให้เป็นกลาง ไม่รู้สึกดีอกดีใจจนเกินไปเมื่อได้รับอิฏฐารมณ์ ไม่รู้สึกเศร้าเสียใจจนเกินไปเมื่อได้รับ อนิฏฐารมณ์ เมื่อรู้จักปรับสภาพใจได้เช่นนี้ ก็จะได้ไม่ต้องทุกข์มากเมื่อพลัดพรากจากของที่รักชอบใจหรือพบความผิดหวัง

ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ
ธรรมที่เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสอน ของพระพุทธเจ้าคือ
๑.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
๒.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความปราศจากทุกข์
๓.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส
๔.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย
๕.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของมีอยู่
๖.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่
๗.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเพียร
๘.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา

ธรรมที่ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสอน ของพระพุทธเจ้า คือ
๑.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ
๒.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์
๓.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความสละกองกิเลส
๔.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความอยากใหญ่
๕.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ คือ มีนี่แล้วอยากได้นั่น
๖.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๗.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
๘.ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา

หลักติดสินพระธรรมวินัยนี้ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อวัตถุประสงค์ ๒ ข้อ คือ
๑.เพื่อเป็นเรื่องชี้ชัดถึงความถูกต้องของพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านั้นว่ามีลักษณะเป็นเช่นนี้ เมื่อมีการโต้แย้งกันขึ้นจักเป็นเครื่องชี้ขาดถึงความเห็นผิด หรือเห็นถูกได้อย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัย
๒.เพื่อเป็นเรื่องชี้ให้เห็นว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าเมื่อกล่าวถึงผลก็คือ เพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา และให้บรรลุถึงผลขั้นสูงสุด คือ พระนิพพาน

มรรคมีองค์ ๘
มรรคมีองค์ ๘ หมายถึง หนทางหรือแนววิธีปฏิบัติสำหรับดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ เป็นหนทางที่ทำให้ผู้ดำเนินตามเป็นพระอริยบุคคลได้
๑. สัมมาทิฏฐิ หมายถึง ความเห้นที่ถูกต้อง ปัญญาอันเห็นแจ้งในอริยสัจ คือ เห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค
๒. สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ความดำริอันถูกต้อง ได้แก่ความดำริในอันออกจากกาม. ในอันไม่พยาบาท.ในอันไม่เบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา หมายถึง วาจาที่ถูกต้อง ได้แก่การพูดจาที่เว้นจากวจีทุจริต ๔ คือ พูดเท็จ. พูดส่อเสียด. พูดคำหยาบ.พูดเพ้อเจ้อ
๔. สัมมากัมมันตะ หมายถึง การงานที่ถูกต้อง ได้แก่การงานที่เว้นจากกายทุจริต ๓ คือ ฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์,ประพฤติผิดในกาม
๕. สัมมาอาชีวะ หมายถึง การเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง ได้แก่เว้นจากการเลี้ยงชีวิตที่มีโทษทั้ง ๒ ฝ่าย คือ โทษทางโลก และ โทษทางพระบัญญัติ รู้ประมาณในการแสวงหา การรับ และ การบริโภค
๖. สัมมาวายามะ หมายถึง ความเพียรที่ถูกต้อง ได้แก่ความเพียรในสัมมัปปธาน ๔ คือ เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว, เพียรให้กุศลเกิดขึ้น,เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌานทั้ง ๔
ในองค์มรรคทั้ง ๘ นั้น เห็นชอบ ดำริชอบ สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา
วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ สงเคราะห์เข้าในสีลสิกขา
เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls