@ธรรมะ สวัสดีทุกท่าน@ @เชิญเขียนบทความเกี่ยวกับธรรมะได้ ครับ แล้วส่งมาที่charan_54@hotmail.co.th@ @บุญไม่ทำมัวแต่อ้วนวอน ระวังเทวดาจะย้อนว่า วอน วอน วอนเสียแล้ว@ @เดินอย่างมีความสุขที่ได้เดิน เราจะมีอนาคตอยู่ในปัจจุบัน@

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชาธรรมวิภาค(ปกิณณกะ คือ หมวดเบ็ดเตล็ด)

ปกิณณกะ คือ หมวดเบ็ดเตล็ด

อุปกิเลส หมายถึง โทษเครื่องเศร้าหมอง โทษเครื่องที่เข้าไปทำใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ หมายถึง ความโลภไม่สม่ำเสมอคือความเพ่งเล็ง เป็นความโลภมากอยากได้สิ่งของของผู้อื่นโดยไม่เลือกว่า จะได้มาโดยวิธีใด ดีหรือชั่ว สมควรหรือไม่อย่างไร มุ่งแต่จะเอาให้ได้อย่างเดียว เมื่อความโลภเพ่งเล็งเกิดขึ้น ควรระงับด้วยสันโดษ ความยินดีตามมีตามได้
๒. โทสะ หมายถึง ความขัดเคือง ความไม่พอใจ เป็นความร้ายกาจที่ทำให้ใจเดือดร้อน เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้กับใครอย่างรุนแรง ย่อมคิดหาทางทำลายหรือประทุษร้าย คิดล้างผลาญผู้นั้น เมื่อโทสะเกิดขึ้น ควรระงับด้วยเมตตา
๓. โกธะ หมายถึง ความโกรธ เป็นความขุ่นแค้นหรือขัดเคืองของจิตในเรื่องที่ไม่ถูกใจไม่ชอบใจ หรือการเป็นคนขี้โมโหฉุนเฉียวเมื่อไม่ได้อย่างที่ใจของตนต้องการ เมื่อความโกรธเกิดขึ้นควรระวังด้วยเมตตา
๔. อุปนาหะ หมายถึง ความผูกโกรธ เป็นการผูกใจเจ็บความโกรธนั้นไว้ในใจไม่รู้ลืม ไม่ถึงกับคิดจองผลาญทำร้ายเขา แต่ก็ไม่ยอมอภัยโทษให้เขา ไม่อยากประสบพบเจอกับผู้นั้นอีก เมื่อความผูกโกรธเกิดขึ้น ควรระงับด้วยเมตตาและกรุณา
๕. มักขะ หมายถึง ความลบหลู่คุณท่าน เป็นการไม่รู้จักบุญคุณที่ผู้อื่นทำไว้แก่ตน เป็นผู้ที่ขาดกตัญญูกตเวทิตาธรรมคิดแต่จะลบล้างคุณความดีของผู้อื่นที่มีต่อตน เมื่อความคิดลบหลู่บุญคุณท่านเกิดขึ้น ควรระงับด้วยกตัญญูตเวทิตา รู้คุณแล้วทำตอบแทน
๖. ปลาสะ หมายถึง ตีเสมอคือยกตนเทียมท่าน เป็นความคิดตีเสมอกับผู้อื่น ทั้งที่ตัวเองด้อยกว่าเขาทุกด้าน แต่เกิดความทะนงตนว่าดีกว่าหรือเทียมเท่ากับเขา เมื่อเกิดคิดตีตนเสมอท่านขึ้น ควรระงับด้วยอปจายนะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน
๗. อิสสา หมายถึง ความริษยา เป็นความอิจฉาตาร้อนเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน ก็ทนอยู่ไม่ได้ ไม่อยากให้เขาได้ดีไปกว่าตน คอยแต่จะกีดกันความดีของเขา เมื่อความริษยาเกิดขึ้นควรระงับด้วยมุทิตา พลอยยินดีไปกับความสำเร็จของผู้อื่น
๘. มัจฉริยะ หมายถึง ความตระหนี่ ความเสียดายหวงแหนไม่กล้าสละสิ่งของตนแก่ผู้อื่น คิดถึงแต่ประโยชน์ของตนไม่คำนึงถึงส่วนรวม เป็นคนมีจิตใจคับแคบ เมื่อความตระหนี่เกิดขึ้น ควรระงับด้วยทาน การให้ หรือจาคะ การเสียสละ
๙. มายา หมายถึง ความมีมารยา เป็นคนเจ้าเล่ห์เหลี่ยมจัดชอบหลอกลลวงผู้อื่น หรือชอบแกล้งไขสือปกปิดความผิดของตนไว้ทั้งที่ตนทำผิด เมื่อความมีมารยาเกิดขึ้น ควรระงับด้วยอาชวะ ความเป็นคนชื่อตรง
๑๐. สาเถยยะ หมายถึง ความมักอวด เป็นคนขึ้นโม้โอ้อวดสรรพคุณของตนเองว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้ผู้อื่นชื่นชมยกยอ่งตนว่าเป็นคนเก่งคนดี พูดง่ายๆ ก็คือเป็นคนอวดดี เมื่อความอวดดีเกิดขึ้น ควรระงับด้วยอัตตัญญุตา รู้จักประมาณตนและอปจายนะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน
๑๑. ถัมภะ หมายถึง ความหัวดื้อ เป็นคนอวดดื้อถือรั้นเป็นคนหัวแข็งว่ายากสอนยาก แม้ตนจะมีความผิดก็ไม่ยอมรับผิดถือเอาแต่ความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่เชื่อฟังคำแนะนำตักเตือนของใคร เมื่อความหัวดื้อถือรั้นเกิดขึ้น ควรระงับด้วยโสวจัสสตาความเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย
๑๒. สารัมภะ หมายถึง ความแข่งดี เป็นคนไม่รู้จักประมาณตน คิดชิงดีชิงเด่นกับเขา โดยไม่คำนึงถึงฐานะ หรือ วุฒิภาวะของตน มิได้ตั้งใจทำดีเพื่อเป็นคุณประโยชน์จริง เมื่อเกิดความรู้สึกอยากแข่งดีเกิดขึ้น ควรระงับด้วยอัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณตน และมัตตัญญุตา รู้จักความพอเหมาะพอดี
๑๓. มานะ หมายถึง ความถือตัว เป็นคนทะนงตัวว่า วิเศษวิโสกว่าผู้อื่น สำคัญกว่าผู้อื่น เข้าลักษณะเป็นคนเย่อหยิ่งจองหาอง ชอบดูหมิ่นผู้อื่น เมื่อความมานะเย่อหยิ่งเกิดขึ้น ควรระงับด้วยอัตตัญญุตาและอปจายนะ
๑๔. อติมานะ หมายถึง ความดูหมิ่นท่าน เป็นคนถือตัวจัดเป็นเหตุให้ชอบดูถูกสบประมาทผู้อื่นว่าด้วยกว่าตนไปทุกอย่างมองไม่เห็นส่วนดีของผู้อื่น เมื่อคิดดูถูกดูหมิ่นผู้อื่น ควรระงับด้วยอปจายนะ และคารวตา รู้จักเคารพให้เกียรติผู้อื่น
๑๕. มทะ หมายถึง ความมัวเมา เป็นความมันเมาเพลิดเพลินจนลืมตัว ลืมแม้กระทั่งกิจธุระหน้าที่ของตนจนเสียการเสียงาน หรือความมัวเมาในลาภ ยศ ตำแหน่ง มัวเมาอยู่กับความสุข จนลืมทุกข์ คนมัวเมาอยู่กับ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญจึงเป็นคนฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม จมไม่ลง เมื่อความมันเมากิเลสเกิดขึ้นควรระงับด้วยสติ ใช้เหตุและผลในการพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรู้เท่าทัน
๑๖. ปมาทะ หมายถึง ความประมาทเลินเล่อ เป็นความสะเพร่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดความละเอียดรอบคอบ เป็นผู้ไม่รู้สึกสำนึกตัวทั้งในฐานและความประพฤติของตนว่าเป็นอย่างไรความประมาทแก้ไขได้ด้วยสติ

อุปกิเลส จัดเขาในอกุศลมูลได้ดังนี้ อภิชฌาวิสมโลภะ จัดเข้าในโลภะ, โทสะ โกธะ อุปนาหะ จัดเข้าในโทสะ, มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ และปมาทะ จัดเข้าในโมหะ

โพธิปักขิยธรรม ๓๗
โพธิปักขิยธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ เป็นธรรมที่ทำให้บุคคลผู้หลับคือมีกิเลส ให้ตื่นให้เบิกบานด้วยคุณวิเศษในอริยผลได้จริง เรียกอีกอย่างว่า อภิญญาเทสิตธรรม หมายถึง ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อให้บุคคลรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ มีดังนี้คือ
๑.สติปัฏฐาน ๔ ประการ
๒.สัมมัปปธาน ๔ ประการ
๓.อิทธิบาท ๔ ประการ
๔.อินทรีย์ ๕ ประการ
๖.พละ๕ ประการ
๗.โพชฌงค์ ๗ ประการ
๘.มรรคมีองค์ ๘ ประการ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls